วันธรรมสวนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระ”  โดยนับ วันขึ้น ๘ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ) แรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)ของทุกเดือน เป็นวันที่ชาวพุทธมาบำเพ็ญกุศลให้กับตนเอง  วันธรรมสวนะนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งถือเป็นวันบำเพ็ญกุศลของชาวพุทธทั่วไปในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ที่ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม หรือถือศีล สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ


หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่อง         
   หลักธรรมที่เกี่ยงเนื่องในวันพระ หรือ วันอุโบสถที่นักเรียนควรศึกษาในที่นี้ คือสังคหวัตถุ 4
    สังคหวัตถุ ๔ หมายถึง หลักปฏิบัติตนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่นไว้ หรือหลักในการสงเคราะห์ผู้อื่น มี ๔ ประการ คือ
    ๑. การให้ ( ทาน ) หมายถึง การรู้จักการช่วยเหลือ แบ่งปันไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นวัตถุสิ่งของ วิชาความรู้ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการให้อภัยแม้ผู้อื่นทำความผิดต่อเราหรือทำให้เราเดือดร้อน
    ๒. การพูดจาไพเราะ ( ปิยวาจา ) หมายถึง การพูดไพเราะ น่ารัก พูดด้วยความจริงใจ
    ๓. การทำประโยชน์ต่อกัน ( อัตถจริยา ) หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อกัน
    ๔. การาวงตัวเสมอต้นเสมอปลาย ( สมานัตตตา ) หมายถึง การทำตัวให้เข้ากันได้กับผู้อื่น โดยไม่   ถือตัว
ข้อควรปฏิบัติในวันธรรมสวนะ
๑. ทำบุญตักบาตร ให้ทานอื่นๆ เช่น ถวายสังฆทาน
๒. สมาทานศีล และรักษาศีล เช่น ศีล ๘ หรือ ศีล ๕
๓. เจริญภาวนาด้วยการทำจิตใจให้สงบเป็นสมาธิ
๔. ฟังธรรมเทศนาด้วยความตั้งใจและความสงบ