ประวัติวัด


ประวัติวัดเวียงสา บ้านเวียงสา
watwiangsa


ข้อมูลวัดเวียงสา 
ชื่อภาษาอังกฤษ : watwiangsa
สถานที่ตั้ง :  3/7 Sri Kanm  Mae Chan  Chiang Rai
โทรศัพท์: (080) 126-6667, (082) 387-7778
E-Mail : watviangsa2017@gmail.com
Website : watviangsathailand.blogspot.com
ชื่อวัด
ชื่อวัดที่ถูกต้องตามทะเบียน วัดเวียงสา เลขรหัสประจำบ้าน ของวัด 5707 - 000171 - 1  
สำนักทะเบียน อำเภอแม่จัน  จัดพิมพ์สำเนาทะเบียนวัด  วันที่ 16 เดือน มกราคม  พ.ศ.2550     
ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดเวียงสา สถานที่ตั้งวัด เลขที่ 3 หมู่ที่ 7 ต.ศรีค้ำ  อ.แม่จัน จ.เชียงราย ไปรษณีย์ 57110  
โทรศัพท์  080-1266667  / 082-3877778  E-mail, watviangsa@hotmail.com

สถานภาพวัด  
วัดเวียงสา  สร้างเมื่อ  พ.ศ. 2471  นำสร้างโดย พระอินต๊ะ  อินทฺโญ และ นายแสง  กองเงิน   พร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวบ้าน สืบเนื่องมาจากที่ดินไม่มีผู้ครองสิทธิ์ซึ่งเป็นป่าเป็นสวน ต่อมาจึงให้เป็นที่พักของพระภิกษุสงฆ์ และเพื่อสร้างเป็นอนุสรณ์แห่งพุทธศาสนา ที่ชาวบ้านได้ใช้ร่วมกันประกอบพิธีกรรมหรือให้บริการด้านพิธีกรรม อันเป็นเรื่องผูกพันกับชีวิตของทุกคน วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ส่วนพระสงฆ์เป็นตัวแทนของวัด ในการแสดงบทบาทต่างๆ เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพ เชื่อถือ และการร่วมมือกันให้เกิดความสามัคคีความเป็นระเบียบเรียบร้อยดีงามในพระพุทธศาสนาสืบต่อไป

การประกาศรับวิสุงคามสีมา   
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานวิสุงคามสีมาโดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้วัดที่มีชื่อในบัญชีท้ายประกาศนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามเขตที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้นและให้นายอำเภอท้องที่ปักหมายเขตให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ ประกาศ ณ วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2529 ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเรือเอกสนธิ บุญยะชัย 
รองนายกรัฐมนตรี ตามบัญชีรายชื่อวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา งวดที่ 5 ประจำปี 2529 ในอันลำดับที่ 16  ให้วัดเวียงสา เลขที่ 3 หมู่ที่ 7 ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย   ตามกำหนดเขต กว้าง 40 เมตร  ยาว 80 เมตร มีความถูกต้องตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 185  ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2529  ด้วยกองพุทศาสนสถาน  กรมการศาสนา  กระทรวงศึกษาธิการ  วันที่ 28 พฤศจิกายน  พ.ศ.2529   จึงทำการประกอบพิธีผูกพัทธสีมาประกาศถวายพื้นที่เขตวิสุงคามสีมา ตามกระแสพระบรมราชโองการฉบับนี้ วัดเวียงสา  เลขที่ 3 หมู่ที่ 7 ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย   ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีท้ายประกาศ เป็นอันแสดงว่า วัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ ได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว โดยมี นายชูชาติ  กีฬาแปง นายอำเภอแม่จัน  เป็นผู้นำมอบถวายไว้ ณ วันที่ 22 เดือนมีนาคม พ.ศ.2543 เป็นต้นมาฯ
สภาพโดยรวม
     วัดเวียงสา ตั้งอยู่ เลขที่ 3 บ้านเวียงสา หมู่ที่ 7 ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย  ที่ดินของวัด มีจำนวน 3  ไร่  1  งาน  61  ตารางวา
โฉนด เลขที่ 16025  (น.ส.4 จ.)   ที่ดินเขตธรณีสงฆ์  ของวัด มีจำนวน -  ไร่  -  งาน  71  ตารางวา
โฉนด เลขที่ 16009  (น.ส.4 จ.)
อาณาเขตทิศเหนือ      จดที่สาธารณะ
ทิศใต้                      จดที่ถนนสาธารณะ 
ทิศตะวันออก          จดที่ถนนสาธารณะ
ทิศตะวันตก             จดโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีค้ำ (บ้านเวียงสา)

ประวัติวัด
       วัดเวียงสา ตั้งอยู่ เลขที่ 3 หมู่ที่ 7 ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย  ไปรษณีย์ 57110
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  เดิม พ.ศ.2470 ได้มีชาวบ้านอพยพมาจาก บ้านบอม ตำบลบ้านบอม
อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มากันเป็นจำนวนมาก โดยมี นายแสง   กองเงิน   เป็นผู้นำหมู่บ้าน
ด้วยจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาและไม่มีที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจึงได้ร่วมกัน
สร้างวัดเวียงสาขึ้น และได้นิมนต์ พระอินต๊ะ  อินทฺโญ จากบ้านบอม ให้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
โดยมีเนื้อที่ตั้งวัด ทั้งหมด 3 ไร่ 1  งาน  61  ตารางวา

มีอาณาเขตวัดดังนี้
ทิศเหนือ            จดที่สาธารณะ       ทิศใต้         จดที่ถนนสาธารณะ 
ทิศตะวันออก     จดที่ถนนสารณะ    ทิศตะวันตก       จดที่โรงเรียน อบต.ศรีค้ำ (บ้านเวียงสา) 
วัดเวียงสา ได้รับประกาศเป็นวัด เมื่อ พ.ศ.2473  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 16 ตุลาคม 2529

การบริหารงานและการปกครอง   มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนามดังนี้  ( ราว พ.ศ. ) 
      1, พระอธิการอินต๊ะ     อินทฺโญ    เจ้าอาวาส                         พ.ศ.2470 - 2482                             
      2, พระปาง   ไม่ทราบฉายา    รักษาการแทนเจ้าอาวาส    พ.ศ.2482 - 2489                             
      3, พระพรพรหมมินทร์  กวิสฺสโร        รักษาการแทนเจ้าอาวาส    พ.ศ.2489 - 2495
      4, พระสุขสันต์  (พ่อหนานอ้าย) รักษาการแทนเจ้าอาวาส     พ.ศ.2495 - 2522                   
      5, พระสมเดช  วิสุทธิสาโร    รักษาการแทนเจ้าอาวาส  พ.ศ.2522 - 2526                           
      6, พระเสรี    ภทฺทจารี                      รักษาการแทนเจ้าอาวาส  พ.ศ.2526 - 2527
      7, พระณรงค์  อภินนฺโท รักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ.2527 - 2530                             
      8, พระสุเวช      สุวณฺโณ    รักษาการแทนเจ้าอาวาส  พ.ศ.2530 - 2536                             
      9, พระอธิการดรุณ    ฐานิสโร  เจ้าอาวาส                        พ.ศ.2536 - 2539                             
    10, พระคำแปง  กิตติสาโร รักษาการแทนเจ้าอาวาส  พ.ศ.2539 - 2544                             
    11, พระอธิการอินตา    ปุญฺญฺกาโม      เจ้าอาวาส                         พ.ศ.2545 - 2549                             
    12, พระอธิการเอนก     อธิจิตฺโต    เจ้าอาวาส                         พ.ศ.2549 - 2554                             
    13, พระหลวง   ปญฺญฺาธโร      รักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ.2553 - ปัจจุบันฯ

ด้านการสังคม 
วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ชุมนุม เพื่อทำบุญฟังพระธรรมเทศนา ตลอดจนการพบปะสังสรรค์
พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน

ด้านศิลปกรรม 
วัดเป็นที่รวมแห่งศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้น ศิลปกรรมแกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่างๆ ที่ศิลปินไทยได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์ วิหาร เจดีย์ องค์พระพุทธรูป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา

ด้านศาสนสถาน 
ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของนักบวช การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จนถึงเป็นที่รวมองค์ประกอบหลักของศาสนา ทั้งหมดในศาสนสถาน ฐานะ ของศาสนสถานจึงเป็นสมบัติของศาสนา

ด้านการเผยแผ่
๑. วัดเป็นสถานที่อบรมประชาชน และเป็นที่เผยแพร่หลักพระพุทธศาสนาแบบพื้นฐานในชุมชน
๒. วัดจัดอบรมพุทธมามกะ แก่ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีคำ้ (บ้านเวียงสา)
๓. วัดนำ อุบาสก  อุบาสิกา  ปฎิบัติกรรมฐานทุกวันพระในพรรษาตลอดปี

ด้านปกครอง
   (๑)   พ.ศ.๒๕๕๔    เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส  วัดเวียงสา  ต.ศรีคำ้  อ.แม่จัน  จ.เชียงราย
           พ.ศ.๒๕๕๔     มีพระภิกษุ   ๑  รูป  สามเณร  ๓  รูป ศิษย์   -   คน 
          พ.ศ.๒๕๕๕     มีพระภิกษุ   ๑  รูป  สามเณร  ๔  รูป ศิษย์   -   คน 
          พ.ศ.๒๕๕๖     มีพระภิกษุ   ๒  รูป     สามเณร  ๔  รูป ศิษย์   -   คน 
           พ.ศ.๒๕๕๗    มีพระภิกษุ   ๒  รูป     สามเณร  ๕  รูป ศิษย์   -   คน 
           พ.ศ.๒๕๕๘    มีพระภิกษุ   ๒  รูป    สามเณร  ๖  รูป ศิษย์   -   คน
          พ.ศ.๒๕๕๙    มีพระภิกษุ   ๒  รูป  สามเณร  ๘  รูป ศิษย์   -   คน
          พ.ศ.๒๕๖๐    มีพระภิกษุ   ๒  รูป  สามเณร  ๙  รูป ศิษย์   -   คน
           พ.ศ.๒๕๖๑ มีพระภิกษุ   ๑  รูป สามเณร  ๓  รูป ศิษย์   -   คน

           พ.ศ.๒๕๖๒ มีพระภิกษุ   ๒  รูป สามเณร  ๗  รูป ศิษย์   -   คน
           พ.ศ.๒๕๖๓ มีพระภิกษุ   ๒  รูป สามเณร  ๓  รูป ศิษย์   -   คน
 
   (๒)  ร่วมทำอุโบสถกรรม ตลอดปี
   ร่วมกับคณะสงฆ์ตำบลศรีค้ำ และ คณะสงฆ์ตำบลป่าซาง

   (๓)  มีการทำวัตรเช้า - เย็น  ตลอดปี
          ทำวัตรเช้า   เวลา ๐๕.๐๐ - ๐๖.๐๐  น. ทั้งในพรรษา และนอกพรรษา
          ทำวัตรเย็น  เวลา ๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐  น. หลังทำวัตรแล้วจะมีการเจริญสมาธิภาวนา และเจ้าอาวาสจะเป็นผู้ให้โอวาทอบรมระเบียบวินัยยกย่องบุคคลที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบตำหนิผู้ประพฤติเลวทรามอันเป็นการขัดเกลาอุปนิสัย เพาะสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้นในจิตใจ

(๔) มีระเบียบการปกครองวัด ดังนี้ คือ
เพื่อให้ความเป็นอยู่ของหมู่คณะมีความเป็น ระเบียบเรียบร้อยดี เกิดความสมัครสมานสามัคคีปรองดอง อยู่กันอย่างผาสุขร่มเย็น และรักษาไว้ซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุ สามเณร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๗ และ ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๓๕ ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส จึงให้มีกฎระเบียบเป็นกติกาข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุสามเณรและผู้อาศัยภายใน วัด ดังนี้

ข้อ ๑ กฎระเบียบนี้ว่าด้วย “กฎระเบียบสำหรับพระภิกษุสามเณร และผู้อาศัยภายในวัดเวียงสา”
 ข้อ ๒ กฎระเบียบนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ ๑  เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้บังคับ
                  ตั้งแต่ วันที่ ๑ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ กฎระเบียบนี้จะถูกยกเลิกเมื่อ
                  ๑. เจ้าอาวาสลาสิกขา หรือ มรณะภาพ
                ๒. เจ้าอาวาสลาออกจากตำแหน่ง หรือถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
                ๓. เจ้าอาวาสพิจารณาเห็นสมควรให้มีการแก้ไข และปรับปรุงใหม่
ข้อ ๔ กฎระเบียบนี้แบ่งออกเป็น ๗ หมวด คือ
                 ๑. หมวดว่าด้วยเรื่องข้อห้ามทั่วไป ๒. หมวดว่าด้วยการประชุม
                ๓. หมวดว่าด้วยการปกครอง                    ๔. หมวดว่าด้วยตารางแบ้งเวลาทำกิจกรรมวัด
                ๕. หมวดว่าด้วยอาคันตุกะมาพักในวัด ๖. หมวดว่าด้วยการลงโทษ                                     
                 ๗. หมวดว่าด้วยฆราวาส ขอใช้สถานที่, นอน, ขายของ, และอื่นๆ

หมวดว่าด้วยเรื่องข้อห้ามทั่วไป
      ๑. ห้ามเสพสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด
      ๒. ห้ามเล่นการพนันทุกประเภท
      ๓. ห้ามมีเรื่องทะเลาะชกต่อยกัน
      ๔. ห้ามเล่นเกมส์กีฬาทุกชนิด
      ๕. ห้ามออกนอกเขตวัดในยามราตรี เว้นแต่มีธุระจำเป็น
      ๖. ห้ามเปิดวิทยุเครื่องรับโทรทัศน์เสียงดังก่อกวนผู้อื่น
      ๗. ห้ามทำและจุดประทัด อนุญาตเฉพาะวันเพ็ญเดือนยี่
      ๘. ห้ามขีดเขียนฝาผนังรวมถึงเสนาสนะต่างๆ
      ๙. ห้ามมีวีดีโอเทป - ซีดี หนังสือรูปภาพอันเป็นสื่อลามก
      ๑๐. ห้ามให้ที่พัดอาศัยแก่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาส
      ๑๑. ห้ามเข้าไปนั่งนอนในห้องเจ้าอาวาส เว้นแต่มีธุระจำเป็นหรือได้รับหน้าที่ มอบหมายจากเจ้าอาวาส
      ๑๒. ห้ามหยิบฉวยสิ่งของ ๆ บุคคลอื่นโดยที่เจ้าของยังไม่ได้อนุญาต
      ๑๓. ห้ามเล่นส่งเสียงดังบนกุฏิอันจะเป็นการรบกวนผู้อื่น
      ๑๔. ห้ามให้หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่วัดแก่สตรีซึ่งไม่ใช่ญาติ
      ๑๕. เมื่อมีการพัฒนาวัดเกิดขึ้น ต้องลงไปช่วยกันทำงานทุกรูป เว้นแต่อาพาธหรือมี กิจธุระจำเป็น
      ๑๖. เวลาฉันภัตตาหารต้องอยู่ในอาการสำรวม
      ๑๗. ห้ามสวมใส่หรือมีไว้ซึ่งเครื่องแต่งกายของคฤหัสถ์
      ๑๘. ห้ามประกอบอาหารทุกชนิดในเวลาวิกาล
      ๑๙. ห้ามถือเอาสมบัติที่เป็นส่วนรวมของวัดไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาส
      ๒๐. ห้ามมีอาวุธที่สามารถประหัตประหารอยู่ในการครอบครอง
      ๒๑. ห้ามเข้าห้องนอนผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต (ยกเว้นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาส)
      ๒๒. ห้ามร้องรำทำเพลง ตลอดถึงบรรเลงเครื่องดนตรีทุกชนิด
      ๒๓. ห้ามกลับบ้านบ่อยครั้ง ในหนึ่งเดือนให้กลับไปเยี่ยมญาติได้แค่ ๓ ครั้งเท่านั้นไม่มีกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
      ๒๔. ห้ามพระภิกษุ-สามเณร ออกนอกวัดก่อนได้รับอนุญาต
      ๒๕. ห้ามคลุกคลีกับฆราวาสเกินสมณะสารูป
      ๒๖. ห้ามประพฤติเดรัจฉานวิชา เช่น ดูหมอ ใบ้หวย ทำเครื่องรางของขลัง

หมวดว่าด้วยการประชุม
        ๑. การประชุมแบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ
            ๑.๑ การประชุมสมัยสามัญ ทุกวันอาทิตย์ ของเดือน
            ๑.๒ การประชุมสมัยวิสามัญ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าอาวาส
       ๒. ทุกรูปจะต้องเข้าร่วมประชุม ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจริง ๆ
       ๓. ที่ประชุมต้องประกอบด้วยสมาชิก ครึ่งหนึ่ง ของจำนวนพระภิกษุสามเณรในวัด
            และผู้ที่ขาดประชุมต้องยอมรับมติของที่ประชุม
       ๔. การประชุมของพระภิกษุ - สามเณร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

หมวดว่าด้วยการปกครอง
         การพักอาศัย -  อาคันตุกะต้องแสดงหนังสือสุทธิ และได้รับการยินยอมจากเจ้าอาวาสก่อน
                                  จึงเข้าพักได้ และต้องเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบของวัดทุกขั้นตอน
        การทำกิจวัตร -  ต้องทำกิจวัตรทุกอย่างโดยพร้อมเพียงกันเป็นสามัคคี ทำวัตรเช้าเวลา  ๐๕.๐๐ น.
                                  และ เย็นเวลา ๑๘.๐๐ น. ของทุกๆ วัน
              การขบฉัน -  ต้องพิจารณาก่อนฉัน ให้พรหลังฉัน ต้องฉันพร้อมกันเป็นคณะ  และเว้นการเก็บของฉันไว้
                                   ภายในที่อยู่  หรือบริโภคพร่ำเพรื่อ
               การนุ่งห่ม -  การนุ่งห่มรัดอกให้เรียบร้อยเป็นปริมณฑลในวัด และใช้จีวร เป็นสีเดียวกัน คือสีเหลืองทอง
               การศึกษา -  ต้องศึกษาพระปริยัติธรรม ท่องบ่นสาธยายธรรมตามเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเงื่อนไข
         การดูแลรักษา -  ต้องช่วยกันดูแลรักษาสมบัติของวัดมิให้เสียหาย หรือถูกทำลาย

หมวดว่าด้วยการแบ่งเวลาลงทำกิจกรรม หรือ การพัฒนาวัด

เวลา
วันจันทร์
วันอังคาร
วันพุธ
วันพฤหัสบดี
วันศุกร์
วันเสาร์
วันอาทิตย์
04.00
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
05.00 - 06.00
ทำวัตรเช้า
ทำวัตรเช้า
ทำวัตรเช้า
ทำวัตรเช้า
ทำวัตรเช้า
ทำวัตรเช้า
ทำวัตรเช้า
06.15 - 06.30
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
07.00 - 07.30
ออกรับบิณฑบาตร
ออกรับบิณฑบาตร
ออกรับบิณฑบาตร
ออกรับบิณฑบาตร
ออกรับบิณฑบาตร
ออกรับบิณฑบาตร
ออกรับบิณฑบาตร
08.00
ไปโรงเรียน วัดแม่คำ
ไปโรงเรียน วัดแม่คำ
ไปโรงเรียน วัดแม่คำ
ไปโรงเรียน วัดแม่คำ
ไปโรงเรียน วัดแม่คำ
ไปโรงเรียน วัดแม่คำ
ไปโรงเรียน วัดแม่คำ

16.00 -16.30
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
กวาดลานวัด
17.00 -17.50
สรงน้ำ
สรงน้ำ
สรงน้ำ
สรงน้ำ
สรงน้ำ
สรงน้ำ
สรงน้ำ
18.00
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
ให้สัญญาณระฆัง
18.15 - 19.00
ทำวัดเย็น
ทำวัดเย็น
ทำวัดเย็น
ทำวัดเย็น
ทำวัดเย็น
ทำวัดเย็น
ทำวัดเย็น
20.00 - 21.00
ฝึกสาธยายธรรม
ฝึกสาธยายธรรม
ฝึกสาธยายธรรม
ฝึกสาธยายธรรม
ฝึกสาธยายธรรม
ฝึกสาธยายธรรม
ฝึกสาธยายธรรม
22.00
พักผ่อนตามอัธยาศัย
พักผ่อนตามอัธยาศัย
พักผ่อนตามอัธยาศัย
พักผ่อนตามอัธยาศัย
พักผ่อนตามอัธยาศัย
พักผ่อนตามอัธยาศัย
พักผ่อนตามอัธยาศัย

















หมวดว่าด้วยอาคันตุกะมาพักในวัด
  ๑. ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสก่อนทุกครั้ง
๒. ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือใบขับขี่รถยนต์ พร้อมกับ ทะเบียนรถที่เข้าพัก
๓. ต้องแจ้งเจ้าอาวาสก่อนออกจากที่พัก
๔. ต้องไม่ส่งเสียงดังรบกวนพระภิกษุ - สามเณรในวัด
๕. ต้องชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อสิ่งของเสียหายหรือชำรุดตามราคาสิ่งของนั้นๆ
๖. ต้องทำความสะอาดสถานที่ให้เรียบร้อยก่อนจากไป
๗. ต้องบำรุงค่าน้ำค่าไฟ ตามสมควร
๘. ห้ามนำสุราหรือสิ่งเสพติดเข้ามาในบริเวณวัดโดยเด็ดขาด
๙. ห้ามเล่นการพนันทุกชนิด
๑๐. ถ้าไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้างต้นจะเชิญออกจากสถานที่พักทันที

หมวดว่าด้วยการลงโทษ
หากมีการละเมิดกฎระเบียบข้อใดข้อหนึ่ง จะต้องถูกพิจารณาลงโทษ โดย เจ้าอาวาสสั่งหมายอาญาตามระเบียบข้อบังคับ โทษานุโทษ ดังนี้
๑.  ตักเตือน       
  ๒.  ภาคทัณฑ์   
๓.  ลงโทษ
         ๔.  เรียกผู้ปกครองพบเจ้าอาวาสพิจารณาโทษเบา ให้อยู่ในดุลพินิจ งดกิจนิมนต์ งดออกจากวัดทันที
               หากมีการละเมิดกฎระเบียบช้ำเดิม หรือฝ่าฝืนกฎระเบียบโดยความตั้งใจลงอาญาหมายลงโทษหนักตามนี้
          ๑.  เรียกผู้ปกครองมารับรองประวัติจากเจ้าอาวาส     
          ๒.  ให้ออกจากวัด
          ๓.  ให้ลาสิกขา หมดจากการเป็น พระภิกษุ หรือสามเณร

หมวดว่าด้วยฆราวาส ขอใช้สถานที่, นอน, ขายของ, และอื่นๆ  
1. ฆราวาสที่เดินทางมาจากต่างแดนอื่นๆมีความประสงค์จะขอเข้าพักอาศัยภายในวัดจะต้องนำบัตรประชาชนมาขอติดต่อที่เจ้าอาวาสเท่านั้นหากไม่ได้รับการติดต่อจากเจ้าอาวาสห้ามเข้าพักเด็ดขาดหากเข้าพักแล้วท่านจะต้องชำระค่าบริการร่วมบุญบำรุงค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นราย บุคคลๆ ละ 50 บาท ตอนมารับบัตรประชาชน จากเจ้าอาวาส  ‘‘ไปลา มาไหว้’’  คือมารยาทถิ่นของไทย
2. ในการเข้ามาขอใช้สถานที่ทางวัด เช่น  ประชุม, โฆษณา, จัดกิจกรรม, เผยแพร่สิ่งอื่นๆ จะต้องติดต่อ
ท่านเจ้าอาวาสโดยตรง โทร. 080 - 1266667  กรณีหากมีการใช้ไฟฟ้าด้วยท่านจะต้องเสียบริการ
3. ห้ามเสพอบายมุขภายในวัด เช่น บุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนันทุกชนิด หากพระภิกษุสามเณรพบเจอมีโทษปรับ บุคคลละ 1,000 บาท โดยค่าปรับจะนำไปล้างชำระ ค่าน้ำ, ค่าไฟ ของวัดประจำเดือน
4. ระหว่างเข้ามาในวัด ถ้าไม่ใช่งานกิจกรรมใดๆ ห้ามส่งเสียงดังก่อกวน พระภิกษุ - สามเณร  ที่จำวัด

ด้านสาธารณุปการ
            1.  พระอุโบสถ กว้าง  9  เมตร ยาว  25  เมตร
            2.  ศาลาบาตร กว้าง  4  เมตร ยาว  14  เมตร                               
            3.  ศาลาเอนกประสงค์ กว้าง  8  เมตร ยาว  18  เมตร                     
            4.  กุฎิสงฆ์                                              กว้าง 12 เมตร ยาว  15  เมตร                                     
            5.  หอฉัน                                                กว้าง  7  เมตร ยาว  8    เมตร
            6.  หอระฆัง                                             กว้าง 1.50  เมตร  สูง  4  เมตร                                   
            7.  กำแพงวัด                                             กว้าง 40 เมตร ยาว  80  เมตร         
            8.  ซุ้มประตูวัดโขง กว้าง  4  เมตร สูง   6   เมตร
            9. ป้ายชื่อวัดล้านนา - ไทย                        กว้าง  1  เมตร สูง 1.50 เมตร
         10. ห้องโกดังหลังกุฏิ กว้าง  2  เมตร ยาว 15  เมตร
         11. ห้องสุขา หลังโบสถ์ กว้าง 1.20 เมตร  ยาว 4 เมตร
         12. น้องสุขา หลังศาลา กว้าง 1.20 เมตร  ยาว 5 เมตร
         13. หอเสื้อวัด หลังพระอุโบสถ                     กว้าง 1.30 เมตร   สูง 1.80 เมตร
         14. หอท้าวทั้งสี่ พระหน้าอุโบสถ                  กว้าง 50 เซนติเมตร สูง 1.50 เมตร

ด้านวัตถุมงคลของวัด
1. พระประธานเนื้อปูนปางมารวิชัย ในพระอุโบสถ จำนวน 3 องค์
2. พระพุทธรูปปางเรือนแก้ว (พุทธชินราช) องค์ใหญ่ เนื้อทองเหลือง ในพระอุโบสถ จำนวน 1 องค์
3. พระพุทธรูปปางห้ามมาร องค์ใหญ่ เนื้อทองโลหะ ในพระอุโบสถ จำนวน 1 องค์
4. พระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์ใหญ่  เนื้อทองเหลือง ในศาลาบาตร  จำนวน 1 องค์
5. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อทองเหลือง ขนาดหน้าตัก 30 นิ้ว   ในพระอุโบสถ จำนวน 1 องค์
6. พระพุทธรูปไม้ขนุน แกะลายปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 20 นิ้ว  ในพระอุโบสถ จำนวน 1 องค์
7. พระพุทธรูปสิงห์ 3 ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 8 นิ้ว  ในศาลาบาตร  จำนวน 1 องค์
8. พระแก้วมรกต เนื้อชีละมิก ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว ในพระอุโบสถ  จำนวน 1 องค์
9. พระปางมารวิชัย เนื้อทองขัดเงา  ขนาดหน้าตัก 13 นิ้ว ในพระอุโบโบสถ จำนวน 1 องค์
10. พระพุทธชินราช เนื้อทองโลหะ ขนาดหน้าตัก 16 นิ้ว ในพระอุโบสถ จำนวน 1 องค์
11. พระปางมารวิชัย เนื้อทองโลหะ ขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว ในพระอุโบสถ จำนวน 2 องค์
12. พระประจำวันเกิด จำนวน 7 องค์ จันทร์ - เสาร์ มีจำนวน 1 ชุด ขนาดเล็ก ในพระอุโบสถ
13. พระพุทธรูปองค์เล็ก อื่นๆ อีกจำนวน 21 องค์ ใน พระอุโบสถ
14. องค์รูปปั้นครูบาศรีวิชัย จำนวน 1 รูป ในศาลาบาตร
15. พระเจ้าแสนแซ่ เนื้อชีละมิก (องค์เล็ก) จำนวน 25 กล่อง

เครื่องใช้ไฟฟ้าวัด
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ครบชุด     จำนวน 1 ชุด
2. เครื่องซักผ้า  จำนวน 1 เครื่อง
3. เครื่องตู้เย็น                          จำนวน 2 เครื่อง
4. เครื่องทำน้ำเย็น                     จำนวน 1 เครื่อง
5. เครื่องดูดฝุ่น จำนวน 1 เครื่อง
6. เครื่องเสียง ในพระอุโบสถ จำนวน 1 ชุด
7. เครื่องลำโพงคู่                       จำนวน 1 ชุด

อุปกรณ์ทรัพย์สินของวัด
1. ตู้ไม้อัดชั้นวางของขนาดใหญ่ จำนวน 4  ตู้
2. ตู้ใส่ผ้าชั้นวาง ขนาดกลาง                                 จำนวน 1  ตู้
3. ตู้เหล็กใส่เอกสาร ขนาดกลาง จำนวน  1  ตู้
4. โต๊ะวางประเคนของพระสงฆ์ พร้อมผ้าคุมโต๊ะ       จำนวน   16 โต๊ะ
5. แท่นนั้งอาสสงฆ์ ในอุโบสถ จำนวน 4  ตัว
6. แท่นนั่งอาส สงฆ์ ในศาลาเอนกประสงค์ จำนวน 3  ตัว
7. ผ้าพรหมปูพื้น ผื่นใหญ่ และ ผืนเล็กยาว จำนวน  4   ผืน
8. โต๊ะหมู่บูชา ชุดไม้สัก ขนาดใหญ่ จำนวน   2  โต๊ะ
9. โต๊ะหมู่บูชา ชุดไม้อัด ขนาดกลาง และเล็ก จำนวน   4  โต๊ะ
10. โต๊ะขาเหล็ก ปูไม้ ยาว (โต๊ะยาว) จำนวน  14 โต๊ะ
11. เก้าอี้สีแดง ตราทอง                                           จำนวน  300    ตั๋ว
12. โต๊ะจีน สีแดง                                                      จำนวน  50   โต๊ะ
13. พัดลมเหล็กขาตั้ง และ พัดลมแบบติดฝาผนัง จำนวน  30  ตั๋ว
จากกรณีผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ ในฐานะที่วัดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ และตามความในมาตรา ๓๗ (๑) เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดำเนินการดูแลรักษาประโยชน์ในศาสนสมบัติของวัด และเจ้าอาวาสมีอำนาจในการแต่งตั้งไวยาวัจกร ได้ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ซึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพรราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕  ผู้แทนและตัวแทนในการจัดการดูแลรักษาศาสนสมบัติในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด คือ เจ้าอาวาส และไวยาวัจกร หรือผู้จัดประโยชน์ต้องดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (๒๕๑๑) ซึ่งข้อ ๓ กำหนดให้การเช่าที่ดินหรืออาคาร เจ้าอาวาสต้องจัดให้ไวยาวัจกร หรือผู้จัดประโยชน์ของวัด ซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้ง ทำทะเบียนทรัพย์สินที่จัดประโยชน์ ทะเบียนผู้เช่าหรือผู้อาศัยไว้ให้ถูกต้อง และเก็บรักษาทะเบียนและหนังสือสัญญาเช่าไว้เป็นหลักฐาน โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ข้อ ๓ นี้ ไม่ได้บัญญัติการควบคุมตรวจสอบของเจ้าอาวาสไว้  และในข้อ ๖ กำหนดให้เจ้าอาวาสจัดให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้งทำบัญชีรายรับรายจ่ายเงินของวัดไว้ด้วยและเมื่อสิ้นปีปฏิทิน ให้ทำบัญชีเงินรับจ่ายและคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจตราดูแลให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและถูกต้อง โดยตรวจได้เสมอในเมื่อมีความประสงค์จะตรวจ แต่ไม่ควรทิ้งระยะเวลานานเกินไป และอาจมอบหมายให้ภิกษุรูปอื่นที่มีความรู้ทางบัญชีทำการตรวจแทนได้ อันเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นของเจ้าอาวาส ซึ่งถ้าพบว่าไวยาวัจกรทุจริตต่อหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรือประมาทเลินเล่อในหน้าที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่วัดอย่างร้ายแรง เจ้าอาวาสอาจสั่งถอดถอนไวยาวัจกรผู้นั้นออกจากหน้าที่ได้ โดยอนุมัติของเจ้าคณะอำเภอตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกรสำหรับผู้จัดประโยชน์เป็นอำนาจในการแต่งตั้งของเจ้าอาวาส จึงอาจถอนคืนการจัดประโยชน์จากผู้นั้นได้ โดยแจ้งการถอนคืนแก่ผู้นั้นเป็นหนังสือไว้เป็นหลักฐาน อันเป็นการควบคุมตรวจสอบของเจ้าอาวาสได้อย่างสมบูรณ์ แต่สำหรับเจ้าอาวาสซึ่งมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ตามมาตรา ๓๗ (๑) แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ นั้น ในบทกำหนดโทษ หมวด ๗ กรณีนี้ผู้เขียนเห็นว่า ไม่ได้บัญญัติไว้ จึงไม่อาจควบคุมตรวจสอบได้โดยตรง อีกทั้งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ในการดูแลรักษาจัดการศาสนสมบัติของวัด ก็ไม่ได้กำหนดอำนาจให้ผู้ใดในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าอาวาส ดังนั้นถ้าเจ้าอาวาสฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และกฎกระทรวง ย่อมเกิดปัญหาในทางปฏิบัติในการควบคุมตรวจสอบ แต่ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นอาจใช้กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ ในหมวด ๔ จริยาพระสังฆาธิการ ในข้อ ๔๓ ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “พระสังฆาธิการต้องเอื้อเฟื้อต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ พระราชบัญญัติสมเด็จพระสังฆราชสังวร และปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ” ในการควบคุมดูแล แนะนำ ชี้แจง หรือสั่งให้เจ้าอาวาสผู้อยู่ในบังคับบัญชาปฏิบัติตามจริยาพระสังฆาธิการได้ เนื่องจากการดูแลรักษาจัดการศาสนสมบัติของเจ้าอาวาสนั้น ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และกฎกระทรวง

การแพร่ธรรม
วัดเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของศาสนา  เรียกว่า ศาสนสถาน ไม่ใช่ตัวศาสนา  ตัวแท้ของศาสนา เรียกว่า ศาสนธรรม คือ พระธรรมคำสั่งสอน  ที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาทรงสั่งสอนไว้ดีแล้ว  ส่วนพระภิกษุสงฆ์จัดเป็นศาสนบุคคล

วัตถุประสงค์ในการสร้างวัดขึ้นมานั้น  ก็เพื่อมุ่งหวังตั้งใจให้เป็นสถานที่สำหรับสร้างประโยชน์สุข  ให้แก่โลก แก่สังคม แก่พระศาสนา มอบแสงสว่างทางธรรม  ให้แก่เพื่อนมนุษย์มหาชนทั้งหลาย  เพื่อให้เข้าถึงแก่นธรรม เข้าถึงพระรัตนตรัย   เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ถ้าจะเปรียบก็เปรียบได้กับยานพาหนะ  รถเรือที่จะขนส่งผู้โดยสารไปให้ถึงเป้าหมายปลายทางข้ามฝากข้ามฝั่งได้

คำว่า ประโยชน์สุขในที่นี่หมายถึงความเจริญงอกงามในศีลในธรรม ในบุญกิริยา มีทาน ศีล ภาวนา และไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ชีวิตจิตใจของชาวโลกได้เข้าถึง  ซึ่งความสะอาด ความสว่าง ความสงบ รู้ ตื่น เบิกบาน ในมรรค ผล นิพพานทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า และเพื่อให้สังคมโลกเกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข พ้นทุกข์ ปลอดภัย  เพราะฉะนั้น หากวัดสามารถทำให้สำเร็จซึ่งประโยชน์ดังกล่าวได้ วัดนั้นก็จะได้ชื่อว่า เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบ ถูกต้องตามพุทธประสงค์ ที่พระองค์ได้ทรงวางไว้ ทรงสั่งสอนไว้ ได้อย่างแท้จริง

นโยบาย
วัดเวียงสา ศูนย์รวมศรัทธา นำการศาสนศึกษา เด็กนักเรียน ชุมชนร่วมประสาน
งดงามตาน่าอยู่  แหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนา  รักษาวัฒนธรรมไทยยั่งยืน

วิสัยทัศน์
จัดการพัฒนาวัดแบบบูรณาการตามหลักไตรสิกขา คือ สะอาด สงบ สว่าง
โดยการมีส่วนร่วมแบบ  รัฏฐะ-บวรสถาน (ภาครัฐ บ้าน วัด และโรงเรียน)

พันธกิจ
         ๑. สร้างจิตสำนึกในความเป็นภิกษุสามเณร และ ศาสนบุคคลที่ดีมีคุณภาพ
         ๒. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการออกกฎระเบียบทั่วไป
         ๓. จัดระบบและรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพ
         ๔. จัดและส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพ
         ๕. บูรณะ พัฒนา และสร้างศาสนวัตถุอย่างเหมาะสมตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา
         ๖. บำเพ็ญกิจกรรมส่วนรวม และประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนโดยใช้หลักพุทธวิธีนำวิถีชีวิต

หลักเกณฑ์ยุทธศาสตร์
      ๑. เน้นฝึกอบรมแก่เด็กนักเรียน และ เยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด                          
      ๒. สร้างโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
      ๓. ยกระดับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
      ๔. พัฒนาการศึกษาสงเคราะห์ตามแนวพุทธวิธีและวิถีพุทธ
      ๕. พัฒนาวัดให้เป็นศูนย์รวมจิตใจและแหล่งปัญญาธรรม คารวธรรม และสามัคคีธรรม
      ๖. เสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่สังคม ชุมชน ปัจเจกชนและสถาบันทางสังคมทุกภาคส่วน 

เป้าประสงค์
     ๑. พระภิกษุสามเณร และ ศาสนบุคคลในวัด ได้รับการฝึกอบรมที่ดีมีคุณภาพอย่างทั่วถึง
     ๒. พระภิกษุสามเณรในวัดได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และ มาตรฐานตามฐานทุกรูปแบบ
     ๓. ศาสนบุคคลของวัด ได้รับการศึกษาหลักธรรม ตามสมควรแก่อัตภาพ
     ๔. สถานศึกษาของวัด จัดการศึกษาได้มาตรฐาน
     ๕. การเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     ๖. การพัฒนาวัดสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ
     ๗. วัดสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมคุณธรรม คุณภาพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

คำขวัญวัดเวียงสา
เวียงปรึกษาตำนานช้าง  คูเมืองเก่าแต่หน้าด่าน
ถิ่นวัฒนธรรมผสมสาร  ลือนามพระพุทธรูปไม้ศักดิ์สิทธิ์