ประวัติหมู่บ้านเวียงสา 


บ้านเวียงสา หมู่ที่ 7  ตำบลศรีค้ำ  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย  เริ่มก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.2467  ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งพากันอพยพมาจากบ้านบอม ตำบลบ้านบอม อำเภอแม่ทะ  จังหวัดลำปาง ได้อพยพครอบครัว และญาติพี่น้องเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้ เพื่อมาหาถิ่นฐานปักหลักแปงบ้านเป็นที่อยู่อาศัยที่ทำกินเลี้ยงท้องจึงได้เลงเห็นผืนดินแห่งนี้เป็นที่อุดมสมบูรณ์ดีนักแล จึงได้เปลี่ยนศัพท์นามจาก เวียงปรึกษา กลายมาเป็นบ้านเวียงสา แทน จากนั้นมาก็ได้บุกเบิกผืนดินแห่งนี้ขึ้นมาตามลำดับโดยมีผู้ที่นำชาวบ้านมาก่อตั้งพอจำชื่อได้ มีดังนี้
            1. นายไหว     หูน้อย            2. นายด้าย    ผาบสายยาน        3. นายจันทร์    จักปา
            4. นายด้วง     กองมา            5. นายติ๊บ    สองมา                   6. นายซ้อน      สิงห์มณี
            7. นายเปา      สองมา          8. นายแสง   กองเงิน
จากนั้นได้พากันมาพัฒนารกรากฐาน  ณ ที่ตั้งของหมู่บ้านขึ้นมาเป็นไปตามลำดับ และได้มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำหมู่บ้านเรื่อยมา  จนมาในปี พ.ศ.2487 หมู่บ้านเวียงสาได้มีประชากรเริ่มมากขึ้น ที่เดินทางมาจากทุกทิศทางและบางกลุ่มก็ได้อพยพมาจากแดนดินทางแม่สาย เชียงตุง ท่าขี้เหล็ก ส่วนมากก็จะเป็นพวกเผ่า ไตยใหญ่ และไตยลั๊วะ ไตยลื้อ ไตยขืน อาข่า และถิ่นกำเนิดพี่น้องคนเมืองมาจำลำปางเป็นต้น จึงได้มาอาศัยรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและก่อตั้งพัฒนาบุกเบิกหมู่บ้านเวียงสาขึ้นมาเป็นไปตามอัตลักษณ์ของหมู่บ้านเหมือนชุมชนทั่วไป
ประวัติความเป็นมาที่ตั้งของหมู่บ้าน
พื้นที่เป็นที่ตั้งของบ้านเวียงสา ในอดีตพุทธกาลนั้นเมืองเวียงสา รัฐทสมัยแคว้น เมืองไชยประการ หลังจากที่พระเจ้าพรหมมหาราชได้รวบรวมเมืองใหญ่เมืองเล็กเข้าด้วยกันให้เป็นปรึกแผ่น และก่อสร้างเมืองไชยปราการขึ้นมานั้นพระองค์ทรงได้กระจายอำนาจให้หมู่แม่ทัพทั้งหลายได้พากันเอาเหล่าทหากระจายไปช่วยกันสร้างเมืองต่างในแว่นแคว้น “เมืองไชยปราการ” นี้ขึ้น หลังจากนั้นทรงรับสั้งให้แม่ทัพทุกๆทัพได้ช่วยกันปกครองดูแลบ้านเมืองกันเอง และป้องกันข้าศึกที่อาจจะเข้ามาจมตีรุกรานอีกครั้ง จึงให้แม่ทัพทุกเมืองได้สร้างกำแพงขึ้น และได้ขุดคูเมืองโดยรอบเสีย  เพื่อป้องกันข้าศึก และกองทัพช้างของพวกขอมดำที่อาจกลับมาตีเอาเมืองคืน จากนั้นมาพระองค์ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติในพ.ศ.1480 เพื่อครอง “เมืองไชยปราการ” ให้พี่น้องประชาราชได้อยู่ดีเป็นสุข บ้านเมืองสงบ  ต่อมาในปี พ.ศ.1482 ได้มีพระราชองค์การยกเอาเมืองเวียงสาให้เป็นหัวเมืองขนานชื่อใหม่ว่า เวียงปรึกษา เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันข้าศึกที่จะรุกรานเมืองหลวงเท่านั้น และมีพระราชรับสั่งให้ขึ้นตรงต่อนครเชียงแสน เมืองเวียงสา เวียงหน้าด่าน คูเมือง จดกับด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันได้พัฒนาบุกเบิกให้เป็นเส้นทางผ่านเข้า - ออกบ้านแม่สลองนอก และ ถูกนำมาใช้เป็นสาธารณะประโยชน์สุสานป่าช้า ส่วนคูเมืองนั้นไม่มีน้ำขังเพียงแต่ขุดไว้เพื่อป้องกันกองทัพช้างเท่านั้น เมืองเวียงสายังเป็นหัวเมืองตลอดมา ต่อมาในครั้งนั้นแว่นแคว้นโยนก และ แว่นแคว้นเมืองไชยปราการ นับว่ามีกำลังแข็งแรงมาก จากที่พระเจ้าพรหมมหาราช ได้ทรงวางกำลังป้องกันพวกขอมไว้อย่างแข็งแรง จนพวกขอมไม่กล้าที่จะยกกองทัพมารบกวนรุกรานอีกต่อไปตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าพรหมมหาราช มีราชโอรสองค์เดียว คือพระเจ้าสิริไชย หรือพระเจ้าไชยสิริ พระองค์ทรงปกครองราชบัลลังค์ได้ 60 ปี เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1538 เมื่อพระชนมายุ 77 ชัญษา เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว หมู่องค์มุขมนตรีก็อัญเชิญพระเจ้าสิริไชยราชโอรสขึ้นครองราชย์ปกครองบ้านเมืองเป็นกษัตริย์นครไชยปราการสืบต่อไป หลังจากได้พระเจ้าไชยศิริ พระราชโอรสของพระเจ้าพรหมมหาราชได้สืบราชสมบัติต่อมา ครั้นถึงปี พ.ศ.1702 จากนั้นก็ได้มีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ไทยไปตามยุคต่างๆ  จนมาถึงในรัฐสมัย พ.ศ.2413 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ นครเชียงใหม่ มีใบบอกข้อราชการไปยังกรุงเทพฯ ว่า พม่า ลื้อเขิน เมืองเชียงตุง ประมาณ 300 ครอบครัว มาอยู่เมืองเชียงแสนตั้งตัวเป็นอิสระไม่ยอมอยู่ใต้การปกครองขอไทย จึงให้อุปราชแต่งคนไปว่ากล่าวให้ถอยออกจากราชอาณาจักร ถ้าอยากจะตั้งอยู่ให้อยู่ในบังคับบัญชาเมืองเชียงราย และนครเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ผล เพราะพวกนั้นไม่ยอมออกไป พ.ศ.2417 เจ้าอินทวิไชยยานนท์ เจ้านครเชียงใหม่เกณฑ์กำลังจากเชียงใหม่ นครลำปาง เมืองลำพูน มีไพร่ทั้งสิ้น 4,500 คน  ยกจากเชียงใหม่มาเชียงราย และเชียงแสน ไล่ต้อนพวกนั้นออกจากเชียงแสน จึงทำให้เชียงแสนกลายเป็นเมืองร้างไประยะหนึ่ง จวบจนถึงปี พ.ศ. 2423 จึงได้ให้ เจ้าอินต๊ะ บุตรเจ้าบุญมา (เจ้าบุญมาเป็นน้องของเจ้ากาวิละ เจ้านครเชียงใหม่) เจ้าผู้ครองเมืองลำพูน เป็นหัวหน้า นำราษฎรเมืองลำปาง เมืองลำพูน เชียงใหม่ ประมาณ 1,500 ครอบครัว ขึ้นมาตั้งรกราก “ปักซั้งตั้งถิ่น” อยู่เมืองเชียงแสน นับเป็นการ สร้างบ้าน แปลงเมือง ครั้งใหญ่ของเมืองเชียงแสน กลุ่มที่อพยพมารุ่นแรกได้มาตั้งถิ่นฐาน ทำกินอยู่เรียงรายตามลำแม่น้ำแม่คำ ตั้งแต่บ้านแม่คำ บ้านห้วยน้ำราก จนถึงเขตเชียงแสน ตลอดถึงบ้านกว๊านบุญเรือง เขตประเทศลาวในปัจจุบันนับแต่นั้นมาเมืองเวียงสาแห่งนี้จึงเป็นที่พักช้างแก่ผู้ที่เลี้ยงช้างสัญจรไปมาระหว่างการค้าขาย และการติดต่อในราชอาณาจักรตามถ้องถิ่น และวัฒนธรรม และเป็นที่เลี้ยงฝูงงัวควาย แก่ผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานหมู่บ้านก่อนหน้านี้หลายๆหมู่บ้านด้วยกัน และจึงใช้ผืนดินแห่งนี้เป็นที่ชุมนุมแก่หมู่เลี้ยงสัตว์ทั้งหลายต่อมาจึงเรียกผืนดินแห่งนี้ว่า เวียงปรึกษา ตามที่พระเจ้าพหมมหาราชได้ตั้งไว้แต่สมัยเมืองไชยปราการ นับแต่นั้นมาจนถึงในปีพุทธศักราช 2467  ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งพากันอพยพมาจากบ้านบอม ตำบลบ้านบอม อำเภอแม่ทะ   จังหวัดลำปาง ได้อพยพครอบครัว และญาติพี่น้องเดินทางมายังพื้นที่แห่งนี้ เพื่อมาหาถิ่นฐานปักหลักแปงบ้าน เป็นที่อยู่อาศัยที่ทำกินเลี้ยงท้อง จึงได้เลงเห็นผืนดินแห่งนี้เป็นที่อุดมสมบูรณ์ดีนักแล จึงได้เปลี่ยนศัพท์นาม  จากเวียงปรึกษา กลายมาเป็นบ้านเวียงสาแทน
จากนั้นมาก็ได้บุกเบิกผืนดินแห่งนี้ขึ้นมาตามไปลำดับ โดยมีผู้ที่นำชาวบ้านมาก่อตั้งพอจำชื่อได้ มีดังนี้
            1. นายไหว     หูน้อย               2. นายด้าย    ผาบสายยาน        3. นายจันทร์    จักปา
            4. นายด้วง     กองมา              5. นายติ๊บ     สองมา                  6. นายซ้อน      สิงห์มณี
            7.นายเปา      สองมา               8. นายแสง   กองเงิน
จากนั้นได้พากันมาพัฒนารกรากฐาน  ณ ที่ตั้งของหมู่บ้านขึ้นมาเป็นไปตามลำดับ และได้มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำหมู่บ้านเรื่อยมาจนมาในปี พ.ศ.2487 หมู่บ้านเวียงสาได้มีประชากรเริ่มมากขึ้น ที่เดินทางมาจากทุกทิศทาง และบางกลุ่มก็ได้อพยพมาจากแดนดินทางแม่สาย เชียงตุง ท่าขี้เหล็ก ส่วนมากก็จะเป็นพวกเผ่า ไตยใหญ่ และไตยลั๊วะ ไตยลื้อ ไตยขืน อาข่า และถิ่นกำเนิดพี่น้องคนเมืองมาจำลำปางเป็นต้น จึงได้มาอาศัยรวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและก่อตั้งพัฒนาบุกเบิกหมู่บ้านเวียงสาขึ้นมาเป็นไปตามอัตลักษณ์ของหมู่บ้านเหมือนชุมชนทั่วไป

ที่ตั้งและอาณาเขต
บ้านเวียงสา หมู่ที่7 ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน เป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านชุมชน และเป็นที่ทำการเกษตรไร่นา ของพี่น้องที่อยู่ระแวกใกล้เคียง เช่น บ้านแม่สลองนอก, บ้านหนองแหย่ง, บ้านแม่คำสบเปิน, บ้านสันสลีหลวง,  บ้านสันนายาว, บ้านแม่สลองใน โดยพิกัดของหมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวจังหวัดเชียงราย มีอานาเขตติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ        ติดกับบ้านหนองแหย่งเทศบาลตำบลแม่คำ โดยมีลำน้ำแม่คำกั้นอยู่
ทิศไต้            ติดกับบ้านแม่สลองในเทศบาลตำบลป่าซาง
ทิศตะวันออก   ติดกับบ้านแม่คำสบเปิน เทศบาลตำบลแม่คำ  และ บ้านสันนายาว  หมู่ที่ 6 ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน 
ทิศตะวันตก     ติดต่อกับบ้านแม่สลองนอก หมู่ที่ 8  ตำบลศรีค้ำ  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ของหมู่บ้านมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบมีลำแม่น้ำคำไหลผ่านทางทิศเหนือ มีความอุดมสมบรูณ์เหมาะสำหรับการทำอาชีพเกษตรกรรม และ ตั้งเป็นที่อยู่อาศัยแบบถาวร ที่ตั้ง/อาณาเขต  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่จัน ระยะทาง 17 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงราย ระยะทาง 36 กิโลเมตร
สภาพการปกครอง
พ่อหลวงหล้า     จันทาพูน ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2488  -  2494
พ่อหลวงมูล       ปวงมณี ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2494  -  2498
พ่อหลวงอินปั๋น   สิงห์มณี ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2499  -  2504
พ่อหลวงสาร     ทัญญาศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2505  -  2511
พ่อหลวงอ้วน     นามขัด ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2512  -  2513
พ่อหลวงผัด       รีอินทร์ ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2514  -  2518
พ่อหลวงหล้า     สิงห์มณี ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2519  -  2523
พ่อหลวงประพันธ์  มะโนจิต ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2524  -  2534
พ่อหลวงอุ่นเรือน สิงห์มณี ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2535  -  2537
พ่อหลวงผัด       รีอินทร์ ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2538  -  2539
พ่อหลวงธีรพงษ์  วงค์กา ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2539  -  2544
พ่อหลวงอานน   ไชยชนะ ดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. 2544  -  ปัจจุบัน

คณะกรรมการหมู่บ้านแบ่งออกเป็น  ๘  ฝ่าย ดังนี้
-  ฝ่ายปกครอง
-  ฝ่ายป้องกัน
-  ฝ่ายสาธารณสุข
-  ฝ่ายการคลัง
-  ฝ่ายศึกษา และ วัฒนธรรม
-  ฝ่ายพัฒนา
-  ฝ่ายสวัสดิการ และสังคม
-  ฝ่ายกิจกรรมพัฒนาสตรี

ระเบียบการปกครองในหมู่บ้าน
ระเบียบที่ ๑ ว่าด้วยเรื่อง กิจกรรมการประชุมประจำเดือน
ระเบียบที่ ๒ ว่าด้วยเรื่อง กิจกรรมการพัฒนาชุมชน และ การพัฒนาบุคคล 
ระเบียบที่ ๓ ว่าด้วยเรื่อง ห้ามเสพ และจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
ระเบียบที่ ๔ ว่าด้วยเรื่อง การรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน
ระเบียบที่ ๕ ว่าด้วยเรื่อง ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
ระเบียบที่ ๖ ว่าด้วยเรื่อง ห้ามให้ที่พักแก่บุคคลต่างด้าว ที่เข้ามาโดยมิชอบตามกฏหมาย
ระเบียบที่ ๗ ว่าด้วยเรื่อง การจัดโครงการพัฒนา และการว่าจ้าง ของในหมู่บ้าน
ระเบียบที่ 8 ว่าด้วยเรื่อง………………………………………………………………………………...........
ระเบียบที่ 9 ว่าด้วยเรื่อง………………………………………………………………………………...........
ระเบียบที่ 10 ว่าด้วยเรื่อง……………………………………………………………………………….........

สภาพทางประชากร
หมู่บ้านเวียงสา มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  195  ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 9,22  คน
แบ่งเป็นเพศชาย   471  คน
แบ่งเป็นเพศหญิง  451  คน

สภาพทางเศรษฐกิจ
- การประกอบอาชีพ  ร้อยละ 80 เปอร์เซ็นประกอบอาชีพทำนาทำสวน ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน   
  คือ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
- โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก คือ การทำนา
  ทำไร่ ทำสวน ค้าขาย และรับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอพื้นที่ใกล้เคียง รายได้เฉลี่ย
  ของประชากร ประมาณ 17,839 บาท/คน/ปี
- การเกษตรกรรม  ลักษณะการประกอบการเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  เป็นอาชีพหลัก เช่น การ  ทำนา ทำสวน เพาะปลูก และ เลี้ยงสัตว์  เป็นต้น

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพมีจำนวน 6 กลุ่ม
กลุ่มผู้ทำนาข้าว  ทำสวน           ร้อยละ  80  เปอร์เซ็น
กลุ่มผู้ปลูกผักสวนครัว                ร้อยละ  60  เปอร์เซ็น
กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน        ร้อยละ  40  เปอร์เซ็น
กลุ่มเลี้ยงกระบือ                         ร้อยละ  20  เปอร์เซ็น
กลุ่มเสาวรส                               ร้อยละ  10  เปอร์เซ็น
กลุ่มเลี้ยงหมู                              ร้อยละ  10  เปอร์เซ็น

อาชีพหลัก
ทำนาข้าว และ นาปัง ปลูกข้าวโพด ปลูกหอม
ปลูกผักกาด และ ผักคะน้า ปลูกถั่วฝักยาว ปลูกขิง
ปลูกเสาวะรส

สภาพเศรษฐกิจภายในชุมชนประกอบด้วยปัจจัย  ๔ ประการดังนี้
1. การประกอบอาชีพค้าขาย โดยประชากรในหมู่บ้านมีอาชีพค้าขายเป็นส่วนมาก คือ ค้าขายประเภท
    พวกสวนครัว  อาทิเช่น  ผักกาด, ผักชี,  ผักคะน้า, เป็นต้น โดยการนำไปขายตามท่องตลาดไกล้บ้านได้แก่   
    ตลาดบ้านแม่สลองใน,  ตลาดห้วยใคร้,  ตลาดบ้านห้วยน้ำขุ่น,  ตลาดบนแม่สาย,  ตลาดเชียงแสน, และ
    ตัวเมืองเชียงราย คิดเป็นร้อยละ 4๐ ของประชากรทั้งหมด
2. การประกอบอาชีพรับจ้าง คือรับจ้างทั่วไป เช่น การขนส่ง,  การก่อสร้าง,  การเกษตร,  การลำนา, และ อื่นๆ
    อาชีพนี้คิดเป็นร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด
3. การประกอบอาชีพรับราชการ เช่น ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร คิดเป็นร้อยละ 20 ของ
    ประชากรทั้งหมด
4. การประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้างทั่วไป และไปทำงานต่างแดน ต่างจังหวัด เช่น กรุงเทพ เป็นต้น
    คิดเป็นร้อยละ 10  ของประชากรทั้งหมด

สภาพทางสังคม
1. เน้นการพัฒนาอย่างบูรณาการ มีคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และยึดพื้นที่เป็นหลัก เพื่อให้การพัฒนา
    ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน และสอดคล้องกับศักยภาพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
2. สร้างภาคีและเครือข่ายความร่วมมือ ในลักษณะ “พหุภาคี” เพื่อประสาน “พลังสร้างสรรค์” ทั้งจากภาครัฐ
    ภาคเอกชน ภาคประชาชน โดยมีองค์กรชุมชนเป็นแกนกลาง ส่วนภาคีอื่นๆ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้น อำนวย
    ความสะดวกส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาให้มีความมั่นคงศักยภาพที่ดี และความเจริญก้าวหน้า
    ของประชากร
3. เริ่มการพัฒนาจากชุมชนท้องถิ่นไปสู่ระดับชาติ และให้องค์กรชุมชนเป็นจักรกลสำคัญในการดำเนินการ
    พัฒนา เพื่อให้เกิดพลังการพัฒนาจากความต้องการของคนในชุมชน ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง
4. ส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวบ้านและการสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชน เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการ
    พัฒนา และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งด้านการศึกษา สาธารณะสุข การผลิต การตลาด การ
    ระดมทุน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
5. ใช้กิจกรรมเศรษฐกิจสร้างการเรียนรู้และสร้างอาชีพที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่คนในชุมชน
    ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านเพศ วัย การศึกษา ความถนัด ฐานะเศรษฐกิจ ฯลฯ
6. ยึดปรัชญาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวพระราชดำรัส “การพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง”
    ตามขั้นตอนของ “ทฤษฎีใหม่”

วิถีชีวิตของหมู่บ้าน
ในอดีตเป็นวิธีชีวิตแบบชนบท อาศัยทำการเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพได้แก่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก
เนื่องจากสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็นยังไม่เจริญก้าวหน้า เท่าเทียมปัจจุบันจึงทำให้มีชีวิตความเป็น
อยู่ค่อนข้างยากลำบาก

การศึกษา
-  โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีค้ำ (บ้านเวียงสา)
-  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลศรีค้ำ (บ้านเวียงสา)
-  ครูพระสอนศีลธรรม โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีค้ำ (บ้านเวียงสา)

การศาสนา
ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 95 ของประชากรทั้งหมดมีวัด  ๑ แห่ง  คือ
วัดเวียงสา  สังกัดมหานิกาย มีชาวบ้านอุปถัมภ์ทำบุญที่  วัดเวียงสา  หมู่ที่ 7  ตำบลศรีค้ำ  อำเภอแม่จัน  จังหวัดเชียงราย  จำนวน  190  ครัวเรือน

ภาษาท้องถิ่นและภูมิลำเนาเดิม
สมาชิกในชุมชนมีภูมิลำเนาเดิมมาจาก จังหวัดลำปาง, และ ประเทศจีน, ประเทศพม่า, ประเทศลาว มีความสัมพันธ์ในกลุ่มชุมชนอย่างแน่นแฟ้น  มีภาษาพูดที่ใช้ในชุมชน คือภาษาเมือง  คิดเป็นร้อยละ 95 ของภาษาพูดในชุมชน

การสาธารณสุข
สมาชิกภายในชุมชนมีการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันเองด้านสาธารณสุขเบื้องต้น มีการรณรงค์การรักษาความสะอาดภายในชุมชน มีอาสาสมัครขั้นข้อมูลพื้นฐาน 15 คน มีการพ่นยายุง ปีละหนึ่งครั้ง ได้รับสิทธิ์ใช้บัตรทองในการรักษาพยาบาล สถานพยาบาลที่ ชุมชนใช้บริการ 2 แห่ง
 -  สถานีอนามัยตำบลศรีค้ำ
 -  โรงพยาบาลอำเภอแม่จัน

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 -  มี อป.พร.           จำนวน  20  คน
 -  มี ชรบ.              จำนวน  20  คน

ระบบบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
สภาพการคมนาคมภายในหมู่บ้าน  ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นถนนคอนกรีต มีถนนลาดยางตลอดเชื่อมกับตำบล และอำเภอที่ติดต่อเป็นเส้นทางที่ใช้เป็นเส้นทางหลักในการเดินทาง และการขนส่งผลิตผลทางการเกษตร เดินทางสัญจรไปมาเป็นไปด้วยความสะดวกและถนนเข้าพื้นที่การเกษตร ส่วนมากเป็นถนนลูกรัง การสัญจรจึงไม่สะดวก

การโทรคมนาคมและการสื่อสาร
-  การโทรคมนาคมสื่อสารใช้บริการของบริการไปรษณีย์ อำเภอแม่จัน
-  อินเตอร์เน็ตประชารัฐ เพื่อสืบค้นหาข้อมูลในเชิง บวก และ เชิง ลบ
-  มีวิทยุสื่อสาร สเต็ปดำ ที่ใช้สื่อสาร  คิดเป็นร้อยละ 5 ของประชากร
-  มีโทรทัศทีวีดู ทุกหลังคาเรือน
-  มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้                    คิดเป็นร้อยละ ๙๘ ของประชากร

การสาธารณูปโภค
- มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
- มีประปาใช้ทุกครัวเรือน

ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
ทรัพยากรดิน
ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดและเป็นไปตามธรรมชาติโดยที่มนุษย์ไม่ได้ไปมีส่วนร่วมในการสร้าง และธรรมชาตินั้นให้ผลประโยชน์ต่อมนุษย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เช่น  อากาศที่ใช้หายใจ แผ่นดิน ภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ   ฯลฯ จากสภาพภูมิศาสตร์  ของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ลาบ และใช้เป็นที่ปลูกบ้านที่อยู่อาศัยเป็นส่วนมากคิดเป็นร้อยละ 99 ของพื้นที่ทั้งหมด

ทรัพยากรน้ำ
ชุมชนในหมู่บ้าน มีน้ำสายสำคัญที่ใช้ประโยชน์ได้ คือ
-  ลำน้ำเหมืองแม่สลอง
-  ลำน้ำแม่คำ (สายน้ำคำ)

งานสถาบัน
- กลุ่มพัฒนาสตรี
- กลุ่มเยาวชน
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
- กลุ่มปฏิบัติธรรม
- กลุ่มฌาปนกิจ
- กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน
- กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ

วิสัยทัศน์
ชุมชนเข้มแข็ง  แบ่งปันน้ำใจ 
สามัคคีน้ำหนึ่ง   ปรองดองสมานฉันท์


คำขวัญบ้าน
คูเมืองเก่าแต่โบราญ      ข้าวโพดหวานฝักใหญ่
พระพุทธรูปไม้ศักดิ์สิทธิ์      สร้างเสริมมิตรไมตรี