วันมาฆบูชา



ประเพณีมาฆบูชา เป็นประเพณีที่ชาวพุทธพระพฤติปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านาน เพราะวันมาฆะ เป็นนักขัตฤกษ์สำคัญ ที่ชาวพุทธได้มีโอกาสรำลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงประกาศหัวใจพระศาสนา การปฏิบัติตามประเพณีจึงมีลักษณะแตกต่างกันไปบ้าง ตามความเชื่อของท้องถิ่น แต่การปฏิบัติตามประเพณีส่วนใหญ่เหมือนกัน

          วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา คำว่า มาฆบูชา” มาจากคำว่า “มาฆปุณณมีบูชา” หรือ มาฆบูรณมีบูชา คำว่า มาฆะ” เป็นชื่อของดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งโคจรเข้าอยู่ในราศีการโคจรของโลกในเดือน เหนือ หรือเดือน ของภาคกลาง ทางจันทรคติเรียกว่า มาฆมาส” ในราวเดือนกุมภาพันธ์ ทางสุริยคติ เรียกชื่อประเพณีมาฆะนี้ว่า วันมาฆะบ้าง วันจาตุรงคสันนิบาตบ้าง ซึ่งหมายถึงการบูชาในเพ็ญเดือน ตรงกับวันเพ็ญเดือน เหนือ พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์   กลุ่มดาวมาฆะเป็นดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งในท้องฟ้า คำสามัญเรียกว่า ดาววานร” หรือ ดาวงู” พวกโหรเรียกว่า สิงห์โต” หรือราศีสิงห์ มีชื่อเรื่องตามลำดับฤกษ์ของโหรเป็นฤกษ์ที่ 10 เรียกว่า ทลิทโท

          วันมาฆบูชา เกี่ยวเนื่องในอดีตกาล เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังเสด็จท่องเที่ยวโปรดสัตว์อยู่นั้น พระองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ เวฬุวนาราม มีพระสงฆ์ คณะ เรียกว่า บุราณชฏิลคณะหนึ่งจำนวน 1,000 รูป และปริพพาชกอีกคณะหนึ่ง จำนวน 250 รูป พระสาวกทั้งสองฝ่ายนี้ต่างฝ่ายต่างก็พากันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนาโดยพระองค์มิได้มีพุทธฎีกาให้มาเฝ้าเลย และพระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ได้อุปสมบทในสำนักพระพุทธเจ้า โดยพระองค์ทรงตรัสว่า “เอหิภิกขุ” ทั้งนี้ เมื่อใตรได้พุทธฎีกาว่า เอหิภิกขุ” แล้วก็ถือกันว่า เป็นภิกษุโดยชอบธรรมไม่ต้องทำพิธีบวชกันเหมือนทุกวันนี้ นอกจากนี้พระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ล้วนแต่ได้บรรลุพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณแล้วทั้งสิ้น

วันจาตุรงคสันนิบาต
วันมาฆบูชาถือกันว่า เป็นวันประชุมสิ่งสำคัญ ประการคือ
     1. พระสงฆ์มาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยไม่ได้นัดหมาย
     2. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ล้วน
     3. วันนั้นเป็นวันเดือนมาฆะ คือ เดือนห้าเหนือเพ็ญ (เพ็ญเดือนสาม)
     4. พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาฏิโมกข์หัวใจพระศาสนา

ในวันมาฆบูชานั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศหัวใจพระศาสนา คือสารัตถะที่สำคัญยิ่งของพุทธ
ศาสนาแก่พระสงฆ์ 1,250 รูป ด้วยข้อความพระพุทธดำรัสว่า
    1. สัพพาปาปัสสอกรณัง การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
    2. กุสลสูปสัมปทา การยังกุศลให้เกิดขึ้น คือทำความดี
    3. สจิตตปริโยทปนัง การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว เอตัง พุทธานสาสนัง นั้นเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา
    4. ขันติ ปรมัง ตโป ตีติกขา ความอดทนคือความอดกลั้นเป็นความเพียรสูงส่ง
    5. นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมชาติอันสูงสุด
    6. น หิ ปัพพชิโต ปรูปฆาตี บรรพชิตย่อมไม่เข้าไปทำร้ายคนอื่น
    7. สมโณ โหติ ปรัง วิเหฐยันโต สมณะย่อมไม่เบียดเบียฬคนอื่น
    8. อนูปวาโท การไม่เข้าไปกล่าวร้าย
อนูปฆาโต การไม่เข้าไปเข่นฆ่าเบียดเบียน     ปาฏิโมกเข จ สังวโร การสำรวมในพระปาฏิโมกข์
มัตตัญญุตาจภัตตัสมิง การรู้จักพอดีในการบริโภค  ปันตัญจ สยนาสนัง นั่งนอนที่สงบสงัด
อธิจิตเต จ อาโยโค การทำใจให้สงบอย่างยิ่ง    เอตัง พุทธานสาสนัง คำทั้งหมดนั้นเป็นคำสอนของพุทธศาสนา    
ข้อความทั้งหมดนี้ เป็นพระโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศให้เห็นหัวใจ หรือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งผู้สนใจศึกษาจะได้เห็นตามความเป็นจริง

ชาวพุทธทำพิธีอะไร
ในวันมาฆะบูชานี้ ชาวพุทธจะพากันนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสู่วัดวาอาราม ปุณยสถานที่ใกล้บ้านของตน กราบพระรัตนตรัยแล้ว ภิกษุที่เป็นประธานสงฆ์จะกล่าวคำบูชาพระพุทธคุณ เนื่องในวันมาฆะเป็นพระบาลี และคำแปลจนจบเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ประชาชนเปล่งวาจาว่าตามจนจบ แล้วลงไปสู่ลานหน้าพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ แห่งใดแห่งหนึ่ง จุดธูปเทียนและเดินปทักษิณ เวียนเทียน รอบ ในขณะที่เดินนั้น ให้กล่าวคำว่า พุทโธ ๆ หรือใช้คำว่า ปทักขิณังๆ ก็ได้ เมื่อเดินได้รอบหนึ่งให้หยุดหันหน้าเข้าหาพระประธาน ยกมืออภิวาทหนหนึ่ง แล้วเดินรอบที่สอง ที่สามตามลำดับ ครบสามรอบแล้วนำธูปเทียนดอกไม้ไปสักการะที่พระเจดีย์ หรือสถานที่อันควร

การทำบุญเนื่องในวันมาฆะ
          เมื่อถึงวันนี้ พุทธบริษัท จะเตรียมอาหารบิณฑบาตนำไปถวายแด่พระสงฆ์ตามวัดที่ใกล้บ้านของตนเพื่อขอพรจากพระสงฆ์ และตอนกลางวันบางแห่งจะมีการแสดงพระธรรมเทศนา บางแห่งเทศน์หลังจากการทำการเวียนเทียนแล้ว วันนี้เป็นวันที่ชาวพุทธจะไปรวมกันที่วัด เพื่อประกอบคุณความดี มีการทำบุญ รักษาศีล ฟังเทศน์ เป็นต้น

          วันมาฆบูชาในล้านนาไทยจะถือเป็นวันขึ้นพระธาตุ คือประชาชนจะพากันไปนมัสการบูชาปูชนียสถานสำคัญๆ เช่น วัดพระนอนขอนม่วง อำเภอแม่ริม เชียงใหม่ พระบรมธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง เชียงใหม่ พระธาตุแช่แห้ง อำเภอเมืองน่าน เป็นต้น

          ประเพณีมาฆบูชา นับเป็นวันสำคัญยิ่งวันหนึ่ง ที่ชาวพุทธจะทำพุทธบูชา เพื่อเป็นการรำลึกถึงการประกาศหัวใจพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเวลานานจนเป็นประเพณีมาฆบูชา มาตราบเท่าทุกวันนี้ฯ