ประเพณีและวัฒนธรรมของหมู่บ้าน

ชุมชนมีการสืบทอดและปฏิบัติตามประเพณีวัฒนธรรม ของล้านนาอย่างเข็มแข็งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ 
และสืบต่อประเพณีต่างๆ ให้แก่อนุชนรุ่นลูกหลานโดยมีประเพณีแต่ละเดือน ดังนี้

ประเพณีที่ ๑ ประเพณี เดือน ๔ เหนือ  หรือ เดือน มกราคม มีดังนี้
ประเพณีต้อนรับปี๋ใหม่ไทย สาธุชนร่วมทำบุญตักบาตร
ประเพณีทานข้าวใหม่
- ประเพณีวันเด็กแห่งชาติ

ประเพณีที่ ๒ ประเพณี เดือน ๕ เหนือ  หรือ เดือน กุมภาพันธ์ มีดังนี้
ประเพณีวันมาฆะบูชา  สาธุชนร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหนะ  และเวียนเทียน

ประเพณีที่ ๓ ประเพณี เดือน 6 เหนือ  หรือ เดือน มีนาคม มีดังนี้
- ประเพณีปอยหลวง หรือ งานฉลองเสนาสนะภายในวัด


ประเพณีที่ ๔ ประเพณีเดือน ๗ เหนือ ปีใหม่สงกรานต์  หรือ เดือน เมษายน มีดังนี้
ประเพณีบวช -  เป็กข์ตุ๊เจ้า / บรรพชาอุปสมบท พระภิกษุ - สามเณรภาคฤดูร้อน
ประเพณีบอกกล่าวไล่สังขานต์ในคุ้มบ้าน
ประเพณีกวาดบ้านช่อง ที่อยู่ ที่กิน ที่อาศัย
ประเพณีขนทรายเข้าวัด เข้าวา  
ประเพณีตานขันข้าว ไปหาผู้ล่วงลับดับขันท์ 
ประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูป / พระภิกษุ - สามเณร
ประเพณีดำหัว พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
ประเพณีสืบชาตาใจ๋บ้าน 
ประเพณีสงเคราะห์ ส่งนาม


ประเพณีที่ ๕ ประเพณีเดือน ๘ เหนือ  หรือเดือน พฤษภาคม มีดังนี้
ประเพณีวันวิสาขบูชา สาธุชนร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหนะ  และเวียนเทียน
         
ประเพณีที่ ๖ ประเพณีเดือน 9 เหนือ  หรือเดือน มิถุนายน มีดังนี้
- ประเพณีเลี้ยงผีฝาย
- ประเพณีเลี้ยงพ่อปู่ในหมู่บ้าน


ประเพณีที่ ๗ ประเพณีเดือน  ๑๐ เหนือ  หรือ เดือนกรกฎาคม มีดังนี้
ประเพณีเข้าวสา หรือพรรษา / ตานขันข้าว ขันน้ำ หาผู้ล่วงลับดับขันท์ 
ประเพณีถวายเทียนพรรษา
ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
ประเพณีวันพ่อแห่งชาติ
         

ประเพณีที่  ประเพณี เดือน ๑๑ เหนือ  หรือ เดือน สิงหาคม มีดังนี้
ประเพณีวันแม่แห่งชาติ  สาธุชนร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก


ประเพณีที่ ๙ ประเพณี เดือน ๑๒ เหนือ  หรือ เดือน กันยายน มีดังนี้
ประเพณีวันเปรตพี  ตานขันข้าว ขันน้ำ หาผู้ล่วงลับดับขันท์  เทศน์ธรรมอุทิศให้ผู้ตาย
ประเพณีทานสลากภัตร หรือ กิ๋นก๋วยสลาก      



ประเพณีที่ ๑๐ ประเพณี  เดือนเกี๋ยง เหนือ   หรือ เดือน ตุลาคม มีดังนี้
ประเพณีออกพรรษา
ประเพณีทานผ้าออกพรรษา
ประเพณีเทโวโรหน
ประเพณีทำบุญทอดกฐิน


ประเพณีที่ ๑๑ ประเพณี เดือน ยี่ เหนือ  หรือ เดือน พฤศจิกายน มีดังนี้
ประเพณีเดือนยี่เป็ง
ประเพณีตั้งธรรมหลวง ( ฟังธรรมมหาชาติ )
ประเพณีลอยโขมด หรือลอยกระทง
ประเพณีปูจาผางผาตีด (ถ้วยประทีป ) เท่าอายุ

ประเพณีที่ ๑๒ ประเพณีพิเศษ
ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ นิยมทำในเดือนคู่ และถือว่าเดือน ๑๒ เหนือ เป็นเกณฑ์ดีที่สุด เพราะเป็นระยะฟ้าฝนอุดม

  เป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญสมบูรณ์
ประเพณีแต่งงาน ไม่นิยมแต่งในพรรษา ถือว่าเป็นการไม่เคารพพระศาสนา และ  คงเป็นฤดูกาลที่ชาวบ้านมีงานอาชีพมากไม่   

  สะดวก การแต่งงาน นิยมในเดือนคู่ เช่น เดือน ยี่ เดือน ๔ เดือน ๖ เดือน ๘ เป็นต้น
ประเพณีงานศพนั้น ไม่กำหนดได้แน่ชัด เพราะธรรมเนียมทางล้านนา ไม่นิยมเก็บศพไว้ เมื่อตายลง ลูกหลานจะเก็บศพไว้
ประมาณ ๗ วัน บางราย ๒-๓ วัน ก็จะนำไปฌาปนกิจ ประเพณีจึงไม่กำหนดไว้ตายตัว สุดแต่ว่าเจ้าจะเห็นว่าเหมาะสม