ขอถวายความไว้อาลัย
แด่...พระเทพสิทธินายก (ชื่น ธมฺมธรมหาเถระ ป.ธ. ๖)
อายุ ๗๙ ปี ๔ วัน พรรษา ๕๙  อดีตเจ้าคณะจังหวัดเชียงราย
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ พระอารามหลวง ต.เวียง อ.เมือง จ.เชียงราย
ได้ถึงแก่มรณภาพ ลงเมื่อวันที่  ๗  กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๑ เวลา 08.๐๐ น.
ณ ที่โรงพยาบาลโอเวอร์บรุ๊ค จังหวัดเชียงราย

*****************************
พระเทพสิทธินายก (ชื่น ธมฺมธรมหาเถระ ป.ธ. ๖) เดิมชื่อ ชื่น นามสกุล แก้วประภา นามฉายา ปัญญาธโร เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ณ บ้านปี้ ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อุปสมบท ณ วัดบุญนาค ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย สอบได้นักธรรมเอก และ เปรียญธรรม ๖ ประโยค ในฝ่ายปริยัติศึกษา และจบบาลีศึกษาปีที่ ๒ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฝ่ายสามัญศึกษา

พระเทพสิทธินายก มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน ได้แก่ การสอนเจริญสมาธิภาวนา การเทศน์ บรรยายธรรม ด้านพิธีกรรมล้านนา ด้านโบราณคดี และประวัติศาสตร์ล้านนา ด้านการอ่าน เขียน และปริวรรตภาษาล้านนาเป็นภาษาไทย ท่านจัดให้มีการสอนภาษาล้านนา (ตั๋วเมือง) แก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป และยังได้จัดทำโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานล้านนาร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิธีสืบชาตาเมืองเชียงราย จัดพิธีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จัดงานเทศน์มหาชาติในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จัดงานสลากภัตร (ตานก๋วยสลากหลวง) อนุรักษ์การสวดมนต์เย็นแบบล้านนาโบราณ และการทำบุญตักบาตรแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะ วัดพระสิงห์จึงมีศาสนพิธีที่ดึงดูดสาธุชนให้เข้าวัดได้ทุกวัน รวมทั้งการมาสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นกับคณะสงฆ์ซึ่งพระเทพสิทธินายกนำสวดเอง เป็นประจำ

นอกจากนี้แล้วกิจของสงฆ์ที่พระเทพสิทธินายก ถือปฏิบัติมาโดยตลอดคือการออกรับอาหารบิณฑบาตจากสาธุชนญาติโยมเป็นประจำทุกวัน ยกเว้นวันพระ วันที่มีกิจนิมนต์ หรือวันที่ฝนตก จึงไม่สามารถออกทำกิจได้ นับเป็นพระมหาเถระเพียงรูปเดียวที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและตำแหน่งการปกครองระดับสูง ที่แม้จะมีศาสนกิจที่มากมายเพียงใด ประกอบกับเป็นพระมหาเถระที่สูงอายุ แต่ยังคงยึดมั่นใจสมณกิจอย่างไม่หยุดหย่อน ชาวพุทธในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียงต่างทราบกันดีถึงข้อวัตรปฏิบัติอันน่าบูชาเช่นนี้ โดยจะสังเกตเห็นได้ว่ามีผู้มารอใส่บาตรแด่พระเทพสิทธินายกกันอย่างมากมาย นับเป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ที่ทำให้พุทธศาสนิกชนนับถือสักการะกราบไหว้

บัดนี้ท่านได้นำความเศร้าโศกเสียใจมายังคณะสงฆ์ในจังหวัดเชียงรายเป็นอันมาก
ด้วยการจากไปของท่านในครั้งนี้ จะไม่มีวันหนคืนกลับอีกแล้วฯ





การตานเจดีย์ทรายสืบต่ออายุ
*********


                 สิทธิ จั๊ตต๋าโร ธรรมา วัฑทันติฯ บุคคะละญิงจายทั้งหลาย อันโบราณาจ๋ารย์กล่าวไว้ว่า แม้นเสียผู้ใดอยู่บ่ม่วนกิ๋นบ่หวานนอนบ่หลับเจ็บหัวมึนหัวผ่อไปตางใดก็มืดมัวต๋าฟางต๋าลาย บุคคลแบบนี้ เขาเรียกว่าเป๋นคน จั๊ตต๋าตกต่ำ อับจ๋น หรือจั๊ตต๋ากำลังจั๊กสิ้นขาดไป ฉะนั้นหื้อท่านได้รีบไปขนทรายมาจำนวนสามกระสอบ เสร็จแล้วนำไปถอกรวมกั๋นที่หน้าพระวิหารหลวงต่อหน้าพระประธาน จากนั้นหื้อแป๋งเจ๋ดีย์ทรายก๋องใหญ่ปอสมกวรไว้ท่ามกล๋าง และบริเวณรอบเจ๋ดีย์ก๋องใหญ่นั้นก็หื้อแป๋งเจดีย์ก๋องน้อยรอบไปต๋ามอายุของบุคคะละผู้จั๊กตานนั้น และ หื้อแป๋งจ่อน้อยปั๊กไปทุกๆหลังน้อยหื้อครบ จากนั้นหื้อแป๋งตุงตั๋วใหญ่เต่าคิงหนึ่งตั๋วปั๊กไว้กับเจดีย์องค์ใหญ่ตรงกล๋างพร้อมสีสาย 9 เส้น ยาวเต่าคิง (ยาวเท่าเจ้าของที่จะถวายทาน) ติดกับตุงนั้น และหื้อมีเตียนเล่มหนึ่ง ดอกไม้เท่าอายุ หอยปล๋าและเหนี่ยวเน้งนำมาอย่างละเท่าอายุ แล้วเอาข้าวน้ำโภชนะอาหารกล้วยอ้อยหมากปูเมี้ยงบุหรี่พร้อมด้วยปัจจั๋ยไตยะตานตังหลายมวลนำไปวางไว้ที่ข้างก๋องทราย จากนั้นไปกราบไหว้สานิมนต์ท่านเจ้าพระสังฆะมาหนึ่งต๋นหื้อมากล่าวเวณตานต่อหน้าธาตุเจดีย์ และสวดบท อัฐถิอุณหัสสะ และ อินทะจ๊ะต๋า แบบเก่า เสร็จแล้วหื้อท่านเจ้ามัดมือแพ๊ดน้ำมนต์และนำหอยปล๋าปู๋เหนี่ยวเน้งไปปล่อยที่แม่น้ำใหญ่เสียจั๊กอยู่ดีมีสุขสมกวามมุ่งมาตปราถนาจุเยื่องจุประก๋ารแท้ๆ จาแล....

โครงสร้างหลักของพระพุทธศาสนาและความสำคัญของพระพุทธศาสนา

องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา คือ พระศาสดา หลักคำสอน สาวก พิธีกรรม และศาสนสถาน มีองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด อันเป็นโครงสร้างสำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรียกว่า พระรัตนตรัย อันเป็นสิ่งพึ่งที่ระลึกของพุทธศาสนิกชน

แผนภูมิแสดงโครงสร้างหลักของพระพุทธศาสนา

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของสังคมไทย ได้เปลี่ยนแปลงไป ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของประชากรให้มีคุณภาพ ทั้งด้านกาย ปัญญา จิตใจนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาประเทศ ชาติไปสู่ความมั่งคั่งและสันติสุขที่แท้จริง ได้ตามวัตถุประสงค์ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น บทเรียนที่มุ่งการพัฒนาด้านวัตถุอย่างเดียวคงไม่ได้ต้องร่วมมือกันพัฒนาคนโดยเฉพาะเรื่องจิตใจ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งบทบาทวิธีการในการพัฒนาคงให้ความสำคัญที่วัด พระสงฆ์ หรือพระพุทธศาสนา หรือกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนามี ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือต่อการพัฒนาบุคคลมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ ครบรอบ และครอบคลุม

ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน เรียกว่า ภาวนา (ฝึกอบรม เจริญ หรือพัฒนา) 4 ได้แก่
  1. กายภาวนา แปลว่า พัฒนากาย ให้มีสุขภาพอนามัยดี แสวงหาความรู้
  2. ศีลภาวนา แปลว่า พัฒนาศีล ประพฤติปฏิบัติตนเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้อื่น มี ระเบียบวินัย
  3. จิตภาวนา แปลว่า พัฒนาจิต การพัฒนาจิตแบ่งออกได้ 3 ด้าน ดังนี้

    ก. คุณภาพจิต คือ ให้มีคุณธรรม เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม มีจิตใจสูง ประณีต เช่น มีเมตตา มีความรัก ความเป็นมิตร มีกรุณา ต้องการช่วยเหลือผู้อื่น ปลดเปลื้องทุกข์ของผู้อื่น มีจาคะ มีความกตัญญู
    ข. สมรรถภาพจิต คือ จิตที่มีความสามารถ มีสติดี มีวิริยะ มีความเพียร มีขันติ มีสัจจะ มีอธิษฐาน มีปัญญา
    ค. สุขภาพจิต คือ ให้เน้นจิตที่มีสุขภาพดี มีความสุขสดชื่นร่าเริงเบิกบาน ปลอดโปร่ง สงบ ผ่องใส ไม่เครียด ไม่คับข้องกระวนกระวาย ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง 
  4. ปัญญาภาวนา แปลว่า พัฒนาปัญญา คือ พัฒนาความรู้ความเข้าใจให้เกิดความรู้แจ้ง เห็นจริง ใช้ความรู้แก้ปัญหาทำให้เกิดประโยชน์สุขได้ รู้เหตุปัจจัย ทำจิตใจเป็นอิสระหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์โดยสิ้นเชิง
ในแง่ของครบรอบ คือ ตรวจสอบพัฒนาทุกด้านไม่ทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ ต้องได้ผลสมบูรณ์ ถ้าศึกษาพระพุทธศาสนาให้ชัดเจนรู้จักเลือกรู้จักจับธรรมให้ถูกหลัก นำมาใช้อย่างฉลาดปฏิบัติให้รอบด้านและตลอดวงจร การพัฒนาก็มีทางที่จะสัมฤทธิ์ผลดีโดยสมบูรณ์ เป็นการพัฒนาทางวัตถุและทางจิตใจเป็นการพัฒนาทั้งตัวบุคคลและสิ่งที่บุคคลไปพัฒนาดำรง ในอัปปมาทธรรมเอาใจใส่ ขวนขวายที่จะแก้ไขและสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา การพัฒนาก็ยากที่จะล้มเหลวหรือผิดพลาดพระ พุทธศาสนาเป็นแกนนำมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมก่อให้เกิดความสุขสมบูรณ์ สันติสุข และอิสรภาพมาสู่ประชาชนอย่างแท้จริง (พระธรรมปิฎก. 2539 : 73-84)
วัดกับการสงเคราะห์ชุมชน 
พระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน

บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนโดยกำหนดจุดประสงค์ที่จะพูดไว้ คือ
เชิงปฏิบัติการ คือเอาประสบการณ์การทำงานมาทำการพัฒนาให้มันดีขึ้น ความภาคภูมิใจที่ทำและที่เราจะลงไปทำเชิงบูรณาการ สำหรับที่ทำงาน ที่อยู่จะมีปัญหา มีความขัดข้องไม่สะดวกสบายด้วยประการต่าง ๆ จะได้แก้ไข จะได้ปรับปรุงให้เกิดความพอเหมาะพอดี เพราะฉะนั้น จึงเน้นในเชิงของการบูรณาการด้วย
เรื่องของพระสงฆ์ที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชนนั้น วิญญาณของพระสงฆ์ที่จะเกื้อกูลต่อการพัฒนาจะต้องใส่วิญญาณสื่อตัวนี้ลงไป สื่อรักวัดเหมือนบ้าน รักงานเหมือนชีวิต รักลูกศิษย์เหมือนลูกหลาน รักชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้อง ใส่วิญญาณตัวนี้ไป
ถ้าพระสงฆ์รูปใดอยู่วัดแล้ว ท่านคอยเอารัดเอาเปรียบวัด เผลอไม่ได้ เอารัดเอาเปรียบตลอดเวลา ทุกเรื่องจะไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานพัฒนา นอกจากรักวัดเหมือนบ้านแล้ว จะต้องรักงานเหมือนชีวิต ชีวิตเป็นสิ่งมีค่า งานจะนำเราไปสู่เกียรติยศ และศักดิ์ศรี เป็นที่ยอมรับของคนทั้งหลาย เพราะค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน เพราะฉะนั้นจะต้องรักงานเหมือนชีวิต รักลูกศิษย์เหมือนกับลูกหลาน เพราะลูกศิษย์เป็นแนวร่วมกับเรา ลำพังเราคงจะทำอะไรไม่ได้เท่าไร ถ้าเราไม่มีแนวร่วม เพราะฉะนั้นจะต้องหาแนวร่วม แนวร่วมที่ดีที่สุดคือ ลูกศิษย์ คนใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นพระเป็นเณร เป็นลูกศิษย์ เป็นสัตบุรุษ ทายกทายิกา คนรอบ ๆ วัด หรือแม้แต่บางรายเป็นคนที่อยู่ห่างจากวัดที่เราอยู่ออกไปก็เป็นลูกศิษย์ได้ จะต้องทำความรู้สึกต่อลูกศิษย์ทั้งหลายทั้งปวงเหมือนกับลูกหลาน รักชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้องถ้าทำความรู้สึกเป็นอย่างอื่นจะมีขาเขาขาเราจะมีขานอกขาใน
ฉะนั้น จะต้องมีความรู้สึกต่อชาวบ้านเหมือนกับญาติพี่น้อง พระสงฆ์เมื่อใส่วิญญาณไปอย่างนี้แล้วจะต้องทำอะไรบ้าง พระนักปกครอง พระนักศึกษา พระนักปฏิบัติ พระนักพัฒนา พระนักสังคมสงเคราะห์ จะต้องทำอะไรบ้าง พระคามวาสี อรัญญวาสี จะต้องทำอะไรบ้าง พระจะต้องทำหน้าที่ตามพุทธวจนะที่เราเรียนมาจากคัมภีร์พระไตรปิฎกเรียนมาจากคัมภีร์พระธรรมบท คัมภีร์อื่น ๆ ก็จะเห็นว่าพระพุทธองค์ได้มอบหมายภาระหน้าที่ไว้ให้กับพระภิกษุสงฆ์ ๒ ประการ หน้าที่เรียกว่าธุระ คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
ประการแรก  คันถธุระ คือ หน้าที่ว่าด้วยการศึกษา การศึกษาเล่าเรียน และการศึกษาอบรม คงไม่ใช่การศึกษาเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว การศึกษา และการศึกษาอบรม การศึกษาเล่าเรียนคือการศึกษาในชั้นเรียน เรียนนักธรรมตรี โท เอก เรียนบาลีประโยค ๑-๒ ถึง ป.ธ.๙ เรียน ม.๑ ถึง ม.ปลาย ในระดับ อุดมศึกษาปี ๑ ถึง ปี ๔ อย่างนี้เรียกศึกษาเล่าเรียน ส่วนการเรียนนอกจากนี้ ได้แก่การสัมมนาระยะสั้น ๑ วันจบ ๒ วันจบ อย่างนี้เรียกว่าการศึกษาอบรมเป็นงานคันถธุระเหมือนกับการเพิ่มพูนความรู้และสติปัญญา
ประการที่สอง คือ วิปัสสนาธุระ ได้แก่การลงมือปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติไปจนกว่าจะเกิดความรู้ ๓ ขั้น คือ รู้จำ รู้แจ้ง และรู้จริง รู้จำถอดใจความมาจากปริยัติ คือการเรียนตามตำรา เพื่อให้มีความจำ จำได้มาก หลักของการปริยัติเขาเน้นตัวนี้ รู้จำ รู้แจ้ง ก็คือ การลงมือทำ เอาความรู้ที่ได้จากการเรียนไปปฏิบัติคือ ไปปรับใช้ในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยการดำเนินภารกิจต่าง ๆ เมื่อลงมือทำงานจะเกิดความรู้ขึ้นมาชนิดหนึ่ง ซึ่งความรู้ชนิดนั้นเป็นความรู้จากการปฏิบัติ ไม่ใช่ความรู้ทางวิชาการ มีลักษณะที่พิเศษแตกต่างกันออกไป จะทำให้เราเกิดความเชื่อมั่นแม่นยำ แน่นอน ทำให้เกิดความแจ้งชัดผลของการศึกษาเล่าเรียนขึ้นมา และต่อไปก็จะได้ความรู้ที่สูงขึ้นไปกว่านั้นอีกขั้นหนึ่งคือ ความรู้จริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ หมายถึง การรู้จริง ตามสภาวะความเป็นจริง
งานของพระนักศึกษาไม่ว่าจะเป็นระดับต่ำสุดระดับนวกะ ระดับนักธรรม บาลี ระดับมัธยม ระดับอุดมศึกษาจะต้องมีอยู่ ๒ ระบบ ศึกษาเล่าเรียนคือการศึกษาในระบบโรงเรียนและศึกษาอบรม คือการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อขยาย ๒ ระบบนี้ให้เห็นเด่นชัดออกมา ใส่วิญญาณของนักการศึกษาออกไปให้ครบ ๔ ตัว คือ เต็มใจ แข็งใจ ตั้งใจ และเข้าใจ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อันนี้เป็นการใส่วิญญาณลงไป เมื่อมีความรู้แล้ว ก็เหมือนคนติดอาวุธเมื่อได้รับการติดอาวุธก็ออกปฏิบัติหน้าที่ ออกลาดตระเวนได้ ออกไปประจำฐานได้ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดงานเผยแผ่ก่อให้เกิดงานประชาสัมพันธ์ศาสนาของเรา คณะสงฆ์ของเรา หน่วยงานของเราจะต้องทำงานด้านนี้ จะต้องเน้นงานด้านนี้
การศึกษาของสงฆ์ในแนวใหม่เท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แม้จะได้จัดตั้งกันมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนามหาจุฬาฯ มหามกุฎฯ เวลาผ่านไปนับ ๑๐๐ ปี คณะสงฆ์ในประเทศไทยก็ยังไม่เข้าในการศึกษาระดับนี้ คือยังคิดว่าพระสงฆ์ที่ศึกษาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้นเรียนทางโลกไม่ใช่เรียนทางธรรม ไม่ใช่เรียนวิชาการทางศาสนา ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงเนื้อหาวิชาในระดับมัธยม และระดับอุดมศึกษาของเราเรียนวิชาศาสนาถึง ๖๐%   เรียนวิชาสามัญไม่ขัดกับสมณเพศ เกื้อกูล ต่อการประกอบศาสนกิจของเราเพียง ๔๐ % คนก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ยังหาว่าพระสงฆ์เรียนทางโลก ซึ่งความจริงมันไม่ใช่
ใครบ้างไม่เข้าใจ ขอฝากให้พิจารณา แต่ที่สังเกตพบคือ มีลักษณะ จะตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมรับพระที่มาจากจังหวัดต่าง ๆ หัวเมืองต่าง ๆ ที่จะมาอยู่วัดเพื่ออาศัยศึกษาเล่าเรียนเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพหรือศักยภาพของพระสงฆ์เราให้สูงขึ้น บางรายเขาบอกว่าเดินหาวัดอยู่รองเท้าขาดไป ๓ คู่ สะพายย่ามขาดไปตั้ง ๒ ใบก็ไม่ได้ เหล่านี้คือความไม่เข้าใจในวงการคณะสงฆ์ อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พระสงฆ์เราไม่เข้าใจ อะไรเป็นสาเหตุที่ทางราชการไม่เข้าใจ อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจก็คืองานเผยแพร่งานประชาสัมพันธ์ของเราอ่อน มหาวิทยาลัยของเราอ่อนการประชาสัมพันธ์ อ่อนการเผยแพร่มาก
อย่างไรก็ตามงานเผยแผ่ของเราตามพุทธดำรัสว่า จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย พระพุทธองค์ตรัสไว้ในการส่งพระภิกษุสงฆ์เป็นธรรมทูตชุดแรกออกไปประกาศพระศาสนาว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปตามจุดประสงค์ เพื่อการบำเพ็ญประโยชน์ต่อปวงชน เพื่อการเสริมสร้างความสุขต่อปวงชน และเพื่อเมตตานุเคราะห์ ต่อประชาชนชาวโลกทั้งปวง” เป็นงานที่พระสงฆ์เราเรียนรู้แล้วจะต้องเอาไปทำงาน ไม่ว่าจะสำเร็จเป็นพุทธศาสตรบัณฑิต หรือพุทธศาสตรมหาบัณฑิต อย่าลืมกลับออกไปสู่ชนบท แม้จะอยู่ในเมืองกรุงก็ยังมีชุมชนที่เราจะต้องทำการพัฒนาอยู่
พระสงฆ์ไทยเรามีงานธรรมทูต  มีงานธรรมจาริก งานธรรมทูตมีกองงานโดยการสนับสนุนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ   งานธรรมจาริก มีกองงานสนับสนุนของกรมประชาสงเคราะห์   งานธรรมทายาท   เป็นงานที่พระพุทธเจ้าจัดตั้งพระสงฆ์ให้กับพุทธสาวก ว่า   เป็นศาสนาทายาทกันเท่าไร    เพิ่งจะมาเน้นกันไม่กี่ปีมานี้   โดยท่านปัญญานันทะ         (พระพรหมมังคลาจารย์) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ งานอ.ป.ต.   คือ งานจัดตั้งหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล โดยเน้นหัวข้ออบรมศีลธรรม วัฒนธรรม สุขภาพอนามัย สัมมาอาชีพ สันติสุข ศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์ สามัคคี กตัญญู เป็นขบวนการทำงานที่มุ่งการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของประชาชน เสริมสร้างสิ่งที่เป็นความผาสุขแก่ประชาชน ดูแลรักษาสิ่งที่เป็นความผาสุข และสิ่งที่เป็นประโยชน์ของประชาชน เป็นงานที่มหาเถรสมาคมว่าด้วยการจัดตั้งหน่วย อ.ป.ต. เป็นหน่วยงานที่อ่านดูตามระเบียบแล้วมีความครบถ้วนสมบูรณ์แบบเป็นที่สุด แต่ว่าขาดการติดตาม เพราะฉะนั้นงานนี้ก็ดี เหมือนกับงานอื่น ๆ งานเผยแพร่อื่น ๆ ที่ท่ามันดี แต่ขาดติดตาม
ต่อไปงานอบรมคุณธรรม ๔ ประการ กุศลสมาทาน ๕ ประการ การยกระดับประชาชน ๕ ประการ เป็นงานที่สนับสนุนอุดมการณ์ แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขของชาติ งานเชิญชวนข้าราชการ นักเรียนเข้าวัดฟังธรรมในวันธัมมัสสวนะ วันหยุดราชการ งานนี้เน้นกันอยู่ระยะหนึ่งให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าของเรื่อง วันนั้นกำหนดให้เข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม กำหนดให้หน่วยงานนั้นเข้าวัดนั้น เหล่านี้เป็นได้ระยะหนึ่งก็ไม่เกิน ๒ ปี และตอนนี้เกิน ๒ ปีไปแล้ว งานนี้ก็ไม่มีใครพูดถึงเท่าไหร่ ต่างว่ามีคน มีหน่วยงานที่นำประชาชน นำครู นำนักเรียนไปเข้าวัดก็จริง ก็หาพระเทศน์ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศน์ให้เด็กตัวเล็ก ๆ ฟัง หาพระเทศน์ยาก เทศน์ให้ระดับมัธยมและระดับสูงขึ้นไปกว่านั้นยังพอหาคนเทศน์ได้ แต่ถ้าเทศน์ให้เด็กระดับประถม เด็กระดับอนุบาลฟังหาพระเทศน์ยากไม่ว่าจะเป็นที่ไหน อันนี้จากที่มีประสบการณ์มาเราไม่ได้เตรียมพร้อม
คุณสมบัติของพระนักเผยแผ่หรือนักประชาสัมพันธ์ ในเชิงของวิชาการมีคุณสมบัติดังนี้
๑. โสตา   ต้องฟังเป็น แม้จะเป็นพระกรุงเทพฯ ก็ฟังพระหัวเมืองได้ แม้จะเป็นดอกเตอร์ก็ต้องฟังพระ ป.๔ พูดได้
๒. สาเวตา   พูดเป็น ไม่ใช่ดีแต่ฟังเขา แต่พูดให้เขาฟังไม่เป็น ไปรายการไหนก็เป็นฝ่ายรับฟังเขาตลอด คือ เป็นฝ่ายเอาเข้า แต่ไม่เอาออก คิดดูสภาพอาหารที่ดีเอาเข้าสู่ร่างกายเอาเข้าไปทุกวันมันจะมีปฏิกิริยาเป็นอย่างไร ฉะนั้น นอกจากฟังเป็นแล้วจะต้องพูดให้เขาฟังเป็นด้วย
๓. อุคฺคเหตา เรียนเป็น
๔. ธาเรตา  จำแม่นในเนื้อหาวิชา
๕. วิญฺญาเปตา หาอุบายให้คนอื่นเขารู้สึกเร็ว
๖. กุสโล สหิตาสหิตสฺส คือ ฉลาด ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
๗. โน ครหการโก ไม่ก่อการทะเลาะวิวาทกับใคร ไม่ว่าเรื่องธรรมยุติ เรื่องมหานิกาย เรื่องสีเหลือง สีกรัก อย่าเอามาเป็นเรื่องทะเลาะวิวาท
หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พระเจ้าอยู่หัวท่านถวาย อันนี้ได้มาจากแผ่นสัญญาบัตร ประกาศนามที่ไม่มีวางขายในท้องตลาด ลงพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งให้องค์นั้นเป็นพระครูนั้น ตั้งให้องค์นี้เป็นเจ้าคุณ อะไรอย่างนี้ บอกว่า ขอพระคุณเจ้าจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในอาราม นี้คือภาระหน้าที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอถวายแก่พระสงฆ์ระดับพระผู้ใหญ่อยากได้กันหนักหนา บางรายอยากได้จนเนื้อเต้น แต่ว่าได้แล้วไม่อยากทำอะไร ไม่อยากทำงานตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านขอร้องท่านระบุไว้ในแผ่นสัญญาบัตร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าคิด คิดไปก็ยิ่งแต่จะเห็นไป
อันนี้พระนักปฏิบัติก็จะต้องมีลักษณะของพระสุปฏิปันโน คือ พระปฏิบัติดี ดีแบบไหน ดีคือไม่เคร่งไม่หย่อน เอาแค่นี้ก็ดีพอยึดถือสายกลางเป็นที่ตั้ง สุปฏิปันโน สุสิกขิโต เป็นพระศึกษาเล่าเรียนฝักใฝ่ต่อการศึกษาเล่าเรียน ต้องเป็นพระที่มีการศึกษาเล่าเรียนตามสมควรแก่สถานะ ตามสมควรแก่โอกาส สุวโจ คือเป็นพระว่าง่าย สอนง่าย เป็นพระที่พูดกันได้ เป็นเจ้าอาวาสก็ฟังข้อคิดเห็นพระลูกวัดได้เมื่อเขาพูดให้ฟังอย่างมีเหตุผล จะต้องรับฟังพูดกันได้ เป็นพระสุภโร เป็นพระเลี้ยงง่าย และต้องเป็นนักสังคมสงเคราะห์ด้วย
นักสงคมสงเคราะห์ก็จะมีขอบข่ายของงานออกมาลักษณะนี้
๑. จัดตั้งโรงเรียน หรือจัดตั้งสถานศึกษาต่าง ๆ
๒. จัดตั้งสถานีอนามัย โรงพยาบาลหรือตึกสงฆ์อาพาธ
๓. จัดห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ที่อ่านหนังสือ หอกระจายข่าว
๔. อนุเคราะห์การจัดตั้งสภาตำบลให้เป็นที่ประชุมของราษฎรของทางราชการ
๕. ตั้งบ่อน้ำดื่มน้ำใช้ประปาหมู่บ้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
๖. กิจการสาธารณสงเคราะห์ต่าง ๆ ที่ไม่เกินต่อขีดความสามารถ   ไม่ขัดพระธรรมวินัย และไม่เสียสมณสารูป
๗. กิจกรรมบรรเทาภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ฯลฯ
๘. สงเคราะห์ในยามประสบมรณภัยคือในคราวตาย ต้องขวนขวายเอาใจใส่เป็นธุระจัดการให้
ในเรื่องสุขของชาวบ้านญาติโยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ใกล้ ๆ วัด ให้เขาเห็นสังฆคุณ คือ คุณของพระสงฆ์ว่าพระสงฆ์ได้ดูแลเอาใจใส่
สรุปงานที่พระสงฆ์ท่านทำออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑. งานศาสนวัตถุ
๒. งานศาสนธรรม
๓. งานศาสนพิธี
๔. งานศาสนบุคคล
งานศาสนวัตถุ เน้นใน ๓ ประเด็น ประเด็นที่หนึ่งเน้นความมีแผน ประเด็นที่สองเน้นการปฏิสังขรณ์ คือ การซ่อมแซมของเก่า ซึ่งใช้ทุนน้อยทำได้ง่ายกว่าการสร้างใหม่ เป็นไปตามพระพุทธวจนะของพระพุทธองค์ ด้วยว่าสนับสนุนให้ซ่อมแซมของเก่า สร้างสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องสร้างใหม่ สร้างความจำเป็นก่อนและหลังตามแผนที่จัดทำเอาไว้คือ เรื่องของวัตถุจัดก่อสร้างโบสถ์วิหารศาลาการเปรียญ จะสร้างถนนหนทาง บ่อน้ำ สระน้ำ หอกลอง หอระฆัง ทำถนน ต้องมีแผน ต้องเป็นไปตามแผน แผนงานบางอย่างวางแผนปีนี้ปีหน้าจึงทำได้ ปีหน้าลงมือทำยังไม่สำเร็จ ต้องสองสามปีจึงเสร็จก็มี
เพราะฉะนั้น งานศาสนวัตถุต้องมีแผนแม้การปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมของเก่า เป็นการให้ความสำคัญต่อผลงาน คนเก่ายอมรับ คนเก่าเห็นคุณค่าของมรดก เป็นการปฏิบัติการด้วยจิตวิทยาคือเอาใจใส่มวลชน สร้างสิ่งที่มีความจำเป็นว่า มันมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน เอาแต่จำเป็นอย่าให้เกินกว่าความจำเป็น ต้องนึกถึงสถานะรอบ ๆ วัดเรา ถ้าเราจะก่อสร้างโบสถ์ขึ้นมา ชาวบ้านจะแบบโบสถ์เอาไว้ในพื้นที่อำเภอหนึ่งกี่หลังคา การสร้างโบสถ์ ศาลา กุฏิ หอกลอง หอระฆัง เมรุ ประชาชนแบกสิ่งเหล่านี้ไว้ ภาระเป็นเท่าไร นอกจากนั้นพอตกฤดูแล้งมาก็จัดงานเลี้ยง วิ่งหามหรสพแข่งกัน บางรายจัดเองน่าเกลียดมาก
ศาสนธรรม นั้นให้ใช้จุดเน้น ๓ ประการคือ
๑. ศึกษาให้เข้าใจถ่องแท้
๒. ใช้สื่อทุก ๆ แบบ
๓. เข้าใจซาบซึ้ง เน้นความเข้าใจซาบซึ้งในหัวข้อต่าง ๆ
ศาสนพิธี ขอให้เน้น ๒ ประเด็น คือ เน้นรูปแบบกับเน้นเนื้อหา รูปแบบงานบวชต้นไม้ งานบวชเณร งานบวชหน้าไฟ งานบรรพชาหมู่สามเณรภาคฤดูร้อน เน้นรูปแบบกำหนดรูปแบบออกมา เนื้อหาที่ทำออกมาทำเพื่ออะไร มันมีความหมายว่าอย่างไร
ศาสนบุคคล เน้น ๔ ประเด็นคือ
๑. ไม่ห่าง
๒. ไม่ว่าง
๓. เจริญงอกงาม
๔. มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันกับผู้บังคับบัญชา
ไม่ห่าง   ไม่ห่างตำรา   ไม่ห่างต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่ห่างจากลูกน้องที่อยู่ในบังคับบัญชา 
ไม่ว่าง คืออย่าปล่อยเวลาให้ว่าง ถ้าปล่อยให้เวลาว่าง จิตใจก็คิดไปอย่างอื่น พยายามให้หมดไปกับงาน อาทิตย์หนึ่งทำงาน ๗ วัน วันหนึ่งทำงาน ๑๘ ชั่วโมง ตื่นขึ้นทำงานก่อนพระอาทิตย์ หยุดทำงานเมื่อ ๑๘ นาฬิกา ๒๒ นาฬิกา ผมจึงหยุดทำงาน ทำงานมากกว่าพระอาทิตย์ แต่ผลงานไม่ได้เท่าพระอาทิตย์ เพราะเราเป็นคนชั้นต่ำ พระอาทิตย์เป็นชั้นสูง กว่าจะหาคนยอมรับสักคนหนึ่งนั้นยาก เพราะฉะนั้น ต้องทำงานมากกว่าเขา ต้องไม่ว่าง
เจริญงอกงาม คือต้องเจริญด้วยภูมิธรรม และความสามารถเพิ่มพูนงอกงามขึ้น
มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน คนใกล้ชิดอย่าสร้างศัตรู นี่คือความคาดหวังของประชาชน แม้ไฉนหนอพระสงฆ์จะทำวัดให้สะอาดร่มรื่น สบายตา สบายใจ ไฉนหนอ จะพึงเห็นพระสงฆ์เป็นตัวอย่างแห่งความดีความสงบดับความเร่าร้อนทางจิตใจ เป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน แม้ไฉนหนอ อยากเห็นพระสงฆ์ทำคุณประโยชน์ต่อชุมชนรอบวัดตามขีดความสามารถของท่าน เขารู้ว่าพระสงฆ์ของเรามีศักยภาพไม่เท่ากัน ท่านพุทธทาสก็ระดับหนึ่ง ท่านปัญญาก็ระดับหนึ่ง ระดับเรา ๆ ก็อีกระดับหนึ่ง เขารู้ ข้าราชการก็รู้ระดับประชาชนเขาก็รู้ แต่เขาต้องการว่าทำประโยชน์ตามขีดความรู้ความสามารถ
นี่คือสิ่งที่ประชาชนคาดหวังต่อพระสงฆ์เอาไว้ ประชาชนที่เขาคาดหวังที่เราจะต้องลงไปทำการพัฒนาเขา คือใครเขาอยู่ตรงไหนนี้ เรากำลังจะพูดถึงคนกุล่มใหญ่ในแผ่นดิน ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มคนชนบท และกลุ่มคนแออัด คนชนบทคือคนส่วนใหญ่ในแผ่นดินที่มีปริมาณมากกว่าชุมชนแออัด เมื่อก่อนเรียกว่าสลัมในอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ในเมืองใหญ่ ๆ ยิ่งมากยกเว้นเมืองที่เขาพัฒนาได้แล้ว เขาไม่มีชุมชนแออัด อันนี้เป็นผลงานที่พระสงฆ์จับตามองยืนอยู่เคียงข้างคนส่วนมากในแผ่นดิน
ชุมชนในชนบทและชุมชนแออัด ก็คือ บ้าน วัด โรงเรียน เมื่อแยกออกเป็นองค์กรจะเห็น รัฐ พระสงฆ์ ชาวบ้าน พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นกลางประสานระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับประชาชน ชาวบ้านไม่ว่าจะเรื่องแนวคิดเรื่องการระดมทุน ผลของงานแยกออกเป็นคุ้มในหมู่บ้าน ๕ หลังเป็น ๑ คุ้ม ๑๐ หลัง เป็น ๑ คุ้ม แต่ละคุ้มก็จะมีหัวหน้าคุ้ม กรรมการคุ้มมีสตรี เยาวชนคือตัวอย่างของคนในหมู่บ้านเรียกว่าชาวบ้าน อันนี้เป็นเรื่องที่เราจะเข้าไปสัมผัสให้รู้องค์กรหลักของบ้านคือ วัด โรงเรียน บ้าน ซึ่งในบางพื้นที่ท่านอ่าน บวร จะต้องมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ .ก.ช. คือ อาสาสมัครส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาสาสมัครนี้เราจะได้ในหมู่คนที่มีน้ำใจ ทำงานเสียสละ
พระสงฆ์เราเหมาะที่จะเป็น อ.ก.ช. คือทำงานบริการประชาชนด้วยความเสียสละ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ตอบแทน และในขณะเดียวกัน อ.ก.ช. จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างรัฐกับประชาชนชาวบ้าน รัฐกระทำหน้าที่เป็นครูชาวบ้านด้วยประสานไปที่ผู้นำกำนัน ผู้ใหญ่บ้านผู้รู้อื่น ๆ หัวหน้าคุ้มต่าง ๆ
พระสงฆ์จะต้องทำหน้าที่ตัวนี้  โดยความรู้สึกว่าผสมงาน   ผสานใจ ให้สูตรกัน ๖   กันคือ
๑. รักใคร่กันดีกว่าชังกัน
๒. คิดถึงกันดีกว่าลืมกัน
๓. นับถือกันดีกว่ามองข้ามความสำคัญของกันและกัน
๔. ช่วยเหลือกันดีกว่าปล่อยกันทิ้งตัวใครตัวมัน
๕. ไม่วิวาทกัน
๖. สามัคคีกัน คือเกาะกลุ่มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะของนักพัฒนา จะต้องหลีกเลี่ยงความโดดเดี่ยวให้มีเอกภาพ อาจจะต้องมีลักษณะว่า ให้อภัย  ใจเมตตา สามัคคี มีเอกภาพให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในการเป็นอยู่ระหว่าง บ้าน วัด   โรงเรียน จะต้องอยู่ด้วยการยอมรับหลักการ ๔ ประการ
๑. ยอมรับสภาพความเป็นจริง
๒. ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่
๓. มองโลกในแง่ดี
๔. ดำเนินชีวิตในทางสายกลาง
ยอมรับสภาพความเป็นจริง ผิดยอมรับผิด อย่าดื้อดึงเอาชนะ แพ้ต้องยอมแพ้ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ต้องมีความเคลื่อนไหว
มองโลกในแง่ดี คืออย่าหาเรื่อง พุทธทาสท่านสอนเป็นคติเอาไว้แจ่มมาก ท่านว่า
“จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
เหมือนค้นหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง”
ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง อย่ามากอย่าน้อย มากเกินไปก็ไม่ดี น้อยเกินไปก็ไม่ดี แคบเกินไปไม่ดี หลวมเกินไปไม่ได้
“แคบนักมักคับขยับยาก
กว้างมากไม่มีอะไรจะใส่สม
สูงนักมักจะลอยตามลม
ต่ำนักมักจะจมธรณี”
เพราะฉะนั้นก็มาสู่ของจริง ของจริง คือ สูตร ๘-๔-๔-๕ ที่พระสงฆ์โคราชโดยการนำของเจ้าคุณพระธรรมวรนายก ได้รับไปใช้อยู่ ๘-๔-๔-๕
๘ คือ การพัฒนาผสมผสานตามเกณฑ์ จ ป ฐ ๘ คือ
๑. สุขภาพอาหารดี
๒. มีบ้านอาศัย
๓. ศึกษาอนามัยถ้วนถี่
๔. ครอบครัวปลอดภัย
๕. ได้ผลิตผลดี
๖.   มีลูกไม่มาก
๗. อยากร่วมพัฒนา
๘. พาสู่คุณธรรม
อาหารดี หมายความว่าอย่างไร มีตัวชี้วัดอาหารดีอยู่ ๓ ตัว ๔ ตัว อะไรบ้าง พูดถึงสูตรที่เป็นหลัก อันนี้คือสูตรของพระสงฆ์เราไม่สงวนลิขสิทธิ์ พระนิสิตพระบัณฑิตจะเอาไปใช้ก็ไม่ว่ากัน ไม่ถือว่าเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา เพราะไม่สงวนอยู่แล้ว
บุคลิกลักษณะ ๔ คือ การจัดลักษณะเฉพาะตัวของเรา เช่น กลุ่มเพื่อนร่วมงานของเรา ลูกน้องผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของเรา เตรียมสร้างบุคลิกลักษณะ ๔ ประการ
๑. เตรียมตัวให้พร้อม จะอยู่หรือสึกไม่ว่า อยู่ก็ใครจะว่า แต่ต้องเตรียมตัวอยู่อย่าอยู่แบบบังเอิญ หรือไปไหนไม่ได้ ก็จำต้องอยู่ ถ้าไม่อยู่ก็เตรียมตัวสึก สึกไปจะมีหน้ามีตาเดินออกจากวัดจะได้มีคนเปิดประตูต้อนรับ สมัยก่อนได้นักธรรมโทเขาก็เอาเป็นบุรุษไปรษณีย์ ก็ได้ เดี๋ยวนี้เขาเอาเป็นภารโรงก็ดีแล้ว
๒. ฝึกซ้อมการปฏิบัติธรรม การทำวัตรการสวดมนต์ การบวชชี การบวชพราหมณ์ การบวชเณรภาคฤดูร้อน โครงการอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำให้มาก
๓. นำปวงชนพัฒนาอย่าเดินตามหลังเขาต้อย ๆ ฟังแต่แนวคิด เอาแต่โครงการของผู้ใหญ่มาทำโดยที่ตัวเองไม่มีโครงการมันเสียศักดิ์ศรี เพราะในสังคมไทยเรานั้นยกให้เป็นผู้นำ ทั้งในคราวตาย นำเวียนซ้ายขึ้นเชิงตะกอนทั้งในความเป็นอยู่นำดำรงชีวิตจะต้องนำปวงชนพัฒนา คือก้าวไปข้างหน้าอย่างมีความมั่นใจ
๔. เป็นที่ปรึกษากิจต่าง ๆ เรื่องผัวเมีย เรื่องการเงินการทอง เรื่องสุขภาพร่างกายต้องเป็นที่ปรึกษาในกิจการต่าง ๆ ของเขาได้บ้าง อะไรต่าง ๆ เหล่านี้คือบุคลิกลักษณะ
สูตรที่ ๓ คือ มนุษยสัมพันธ์ ๔
๑. สนใจเราท่าน
๒. การงานยอมรับ
๓. ระดับยกย่อง
๔. ถูกต้องชื่นชม
สนใจเราท่าน เราก็คือตัวเรา อย่ามองแต่ความผิดของคนอื่น ต้องมองความผิดของเราด้วย อย่ามองแต่ความดีของเรามองความดีของคนอื่นเขาด้วย คนอื่นเขาก็มีดีเหมือนกัน ไม่ใช่ผิดแต่เขา เราก็ผิดบ้างเหมือนกัน
การงานยอมรับ งานวัด งานคณะสงฆ์ งานโรงเรียน งานสังคม งานของแผ่นดินงานหนักต้องเอา งานเบาต้อสู้ งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย จะทำอย่างไรจะแบ่งเวลาอย่างไรจะทำใจอย่างไร
ระดับยกย่อง เมื่อเราบวชใหม่ เราอยู่หางแถว พอ ๑ ปีผ่านไป ๒ ปีผ่านไป เราก็ขึ้นมาอยู่หัวแถวเรื่อย ๆ ต้องยกระดับของตัวเอง ด้านภูมิรู้ ด้านภูมิธรรม ยกระดับขึ้นมาให้สูงขึ้นจนกระทั่งเหมาะสมแก่สถานะของเรา
ถูกต้องชื่นชม ในหมู่พวกเรานั้น ใครทำถูกต้องชื่นชมยินดี ผู้บังคับบัญชาทำถูกก็ต้องชื่นชมยินดี ไม่ใช่นินทาผู้บังคับบัญชาเขาได้ทั้งปีทุกเรื่อง อย่างนี้ก็ไม่ไหว
สูตรที่ ๔ คือ กลยุทธ์ในการทำงาน ๕ กลยุทธ์ในการทำงาน ๕ เอามาจากสูตรผึ้งน้อย ผึ้งน้อยมีลักษณะ ๕ ประการคือ
๑. ขยันทำมาหากิน
๒. อย่าบินสูงนัก
๓.   รักความสะอาด
๔. ฉลาดสะสม
๕. นิยมความสามัคคี
กลยุทธ์ในการทำงานของคนขยันทำมาหากิน ก็ได้อยู่ได้กินถมไป
อย่าบินสูงนัก อย่าหัวสูง อย่าเย่อหยิ่ง อย่าจองหอง
รักความสะอาด อย่ามัวหมองเรื่องผู้หญิง อย่ามัวหมองเรื่องการเงิน อย่ามัวหมองเรื่องสิ่งเสพติด อย่ามัวหมองเรื่องการพนัน ๔ ตัวแค่นี้ก็สบายแล้ว นอกจาก ๔ ตัวนี้ใครเขาจะติดตามจับพระสงฆ์ เขาก็ติดตามอยู่แค่ ๔ ตัวนี้ เรื่องผู้หญิง เรื่องการเงินเรื่องเหล้า เรื่องสิ่งเสพติดและก็เรื่องการพนัน ถ้าไม่คลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้ เขาก็กราบตั้งแต่หัวจรดเท้าอยู่แล้ว
ฉลาดสะสม ต้องเป็นพระอนุรักษ์สะสมก็คืองานอนุรักษ์ งานอนุรักษ์คู่กับงานสร้างงานสร้างเป็นงานยากแต่ก็มีขอบเขตจำกัด มันกำหนดได้ว่าใช้เวลาเท่าไหร่ ใช้ทุนทรัพย์เท่าไหร่ ใช้กำลังคนเท่าไหร่ ส่วนงานอนุรักษ์ งานดูแลรักษานี้ที่เราจะต้องสะสมมรดกทั้งเป็นวัตถุสิ่งของทั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ทั้งกิจกรรมอะไรต่าง ๆ พระสงฆ์เราจะต้องฉลาดในตัวนี้ งานอนุรักษ์นี้ทำอะไรบ้าง งานอนุรักษ์นั้นพระสงฆ์เราหรือคนที่จะทำงานด้านอนุรักษ์หรือทำการสะสมจะต้องให้ครบถ้วน ๕ ประการคือ
๑. ต้องทะนุถนอม
๒. ต้องดูแลรักษา
๓. ต้องเก็บงำ
๔. ต้องเสียดาย
๕. ต้องขยายผล คือ ทำให้งอกเงย
หลักของการทำงานสะสม หลักการอนุรักษ์จะต้องประกอบไปด้วย ๕ ประการนี้
นิยมความสามัคคี นักพัฒนาต้องหลีกเลี่ยงความโดดเดี่ยว อย่าเหนื่อยคนเดียวอย่ายากคนเดียว ถ้าทำคนเดียวเวลาเจ็บมันเจ็บคนเดียว เวลาบ้ามันก็บ้าคนเดียว ไม่มีใครเขามาช่วยบ้ากับเรา เพราะฉะนั้นต้องหลีกเลี่ยงความโดดเดี่ยว ต้องหาแนวร่วม หาหมู่หาเพื่อนให้มาก ๆ เป้าหมายในการพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นชุมชนชนบทหรือชุมชนแออัด เราต้องกำหนดเป้าหมายการทำงาน ทุกอย่างต้องมีเป้าหมายอยู่แล้ว เช่น อย่างพระพุทธเจ้า พระองค์สร้างพระบารมีมาตลอดเวลาสี่อสงไขยกับแสนกัปป์ พระองค์ก็กำหนดเป้าหมายของพระองค์ว่าต้องการโพธิญาณ
เพราะฉะนั้น ในการทำงาน การเรียนของเรา ก็ต้องกำหนดเป้าหมาย เป้าหมายในการพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นชุมชนชนบทหรือชุมชนแออัด อยู่ตรงไหนเรากำหนดเป้าหมายว่า ให้คนรู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักแก้ปัญหาจนกว่าเขาจะคิดได้ ทำได้ แก้ปัญหาได้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดถูก ทำถูก แก้ปัญหาถูกด้วยตัวของเขาเอง นั่นแหละ เรียกว่าบรรลุเป้าหมาย ถ้าตราบใดเราต้องไปให้รัฐบาลคิดให้ นายอำเภอคิดให้ ส.จ. คิดให้ ส.ส. คิดให้ ทางราชการทำให้ เมื่อนั้นยังไม่บรรลุเป้าหมาย สิ่งที่ทางราชการทำให้ สิ่งที่ ส.ส. ทำให้ สิ่งที่ ส.จ. ทำให้ มันจะกลายเป็นของหลวง มันจะกลายเป็นของคนอื่น เพราะฉะนั้น จอต้องเข้าให้ถึงจุดนี้ จึงเรียกว่า บรรลุเป้าหมายในการทำงาน
หลวงพ่อแก้ว วัดธาตุพนม ท่านกล่าวไว้เฉียบคมมาก ท่านบอกว่าประชาชนนั้นหรือคือรากแก้ว เปรียบการพัฒนาเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่ให้คุณประโยชน์อะไรต่าง ๆ มากมาย เราเปรียบประชาชนเหมือนกับรากแก้ว รัฐบาลเพริศแพร้วคือคำต้น รัฐบาลที่ดีคือลำต้น ข้าราชการคือกิ่งก้าน ราชาผลยอดเด่นมองเห็นไกล องค์พระราชาที่เป็นประมุขแห่งชาติของเรา คือ ยอด นี้คือองค์กรในการพัฒนา ที่เรียกว่าองค์กร คือส่วนใหญ่ ๆ ประชาชนก็คือส่วนประกอบส่วนหนึ่ง รัฐบาลก็คือส่วนประกอบส่วนหนึ่ง ข้าราชการก็คือส่วนประกอบส่วนหนึ่ง สถาบันกษัตริย์ก็คือส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
อุปสรรคในการพัฒนาชุมชนนั้นมีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑. ประชาชนยังเกลือกกลั้วอบายมุข
๒. องค์กรที่จะชี้นำทางภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรทางศาสนา ขาดจิตสำนึกที่จะบริการประชาชน ข้าราชการก็ยังทำตัวเป็นเจ้าขุนมูลนาย พระเจ้าพระสงฆ์ก็มุ่งอดิเรกลาภอยู่ จะสวดทีจะเทศน์ทีก็ต้องมีซองต้องมีค่าตอบแทน ไม่มีน้ำจิตน้ำใจที่จะบริการประชาชนอย่างแท้จริง
๓. ประชาชนเองขาดการรู้เรื่องการพัฒนา เช่น ขาดความรู้เรื่องแหล่งน้ำ ขาดความรู้เรื่องส้วม ขาดความรู้เรื่องโรคทางเดินอาหาร ขาดความรู้เรื่องการอนุรักษ์ ขาดความรู้เรื่องระบบนิเวศน์วิทยา
๔. กิจกรรมที่พัฒนาไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ประชาชนต้องการแหล่งน้ำ ไปสร้างถนนให้ ประชาชนต้องการสถานีอนามัยไปสร้างแหล่งน้ำให้มันไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน
๕. องค์กรพัฒนาของรัฐและองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งองค์กรสงฆ์ องค์กรเอกชน ยิ่งต่างคนต่างทำไม่มีการประสมประสานใจให้สอดคล้องกันอย่างแท้จริง โทรศัพท์ขุดถนน พอกลบเสร็จเรียบร้อยแล้วไฟฟ้า มาขุดอีก พอกลบเสร็จประปามาขุดอีก อย่างที่เห็นเป็นประจำ อย่างที่บ้านเมืองเรา นี่คือองค์กรของรัฐและองค์กรอื่น ๆ องค์กรอื่น ๆ หมายถึงองค์กรเอกชน องค์กรทางศาสนายังทำงานบริการประชาชนในลักษณะต่างคนต่างทำ ยังไม่มีการประสมประสานใจ
พอลงไปถามเรื่องงานของรัฐ พระสงฆ์ก็บอกว่าฉันไม่เข้าใจ ไม่ใช่งานของฉัน เป็นงานของปลัดอำเภอ เป็นงานของพัฒนาการ เป็นงานของสาธารณสุข พอเข้าไปถามผุ้บังคับบัญชาก็บอกว่าไม่ใช่งานของผม เป็นงานของพระสงฆ์ท่าน ผมไม่เข้าใจ ผมไม่รู้ท่านจะทำอย่างไร ท่านเอาเงินเอาทองมาจากไหน ท่านจะทำอย่างไร แบบเป็นอย่างไร ผมไม่รู้ไม่เข้าใจ ต่างคนต่างทำ
อันนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้ผมจึงให้คติในกรทำงานว่า บ้านจะเจริญก่อนคนในบ้านไม่ได้ ต้องคนในบ้านเจริญก่อน ผลักดันให้บ้านเจริญ วัดจะเจริญก่อนคนในวัดไม่ได้ ต้องคนในวัดเจริญก่อนแล้วผลักดันให้วัดเจริญ โรงเรียนจะเจริญก่อนคนในโรงเรียนไม่ได้ ต้องคนในโรงเรียนเจริญก่อน แล้วผลักดันให้โรงเรียนเจริญ บ้าน วัด โรงเรียน บ้านเหมือนร่างกาย วัดเหมือนจิตใจ โรงเรียนเหมือนมันสมอง บ้านที่ไม่พัฒนาก็เหมือนกับร่างกายพิการ วัดที่ไม่พัฒนาก็เหมือนกับจิตใจพิการ โรงเรียนที่ไม่พัฒนาก็เหมือนกับสมองพิการ คนเราถ้าร่างกายพิการ สมองพิการ มันก็จบกันทั้ง ๓ อย่าง
บางทีโรงเรียนพัฒนา แต่วัดไม่พัฒนา มันสมองดีแต่จิตใจไม่ดี ไม่มีคุณธรรม เฉลียวฉลาด รู้เจนจบไปทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ว่าคุณธรรมไม่มีเพราะไม่ได้รับการพัฒนาจิตใจ มันก็ไปไม่รอด เพราะฉะนั้น ในชุมชนจะต้องพัฒนาบ้าน วัด โรงเรียน พัฒนาผู้นำทางบ้าน คือ กำนันผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน หัวหน้าคุ้ม และประชากรที่เป็นส่วนประกอบของคุ้มต่าง ๆ วัดคือเจ้าอาวาส องค์กรสงฆ์ พระภิกษุสามเณร สัตบุรุษ กรรมการวัด โรงเรียน ครูใหญ่ นักเรียน กรรมการการศึกษา จะต้องมีการพัฒนา ๓ ส่วน นี้ไปพร้อม ๆ กัน ทีนี้การที่จะทำงานตัวนี้มันไม่ใช่เป็นของง่ายนัก เราจะต้องมีแนวทางในการคิด ในการทำการที่จะทำอะไรต้องมีแนวทาง
จากประสบการณ์การทำงานโดยตรง ก็นำมาเรียนว่า เราใช้การศึกษาดูงานเป็นการเรียนลัดของคนในชนบท คนในชุมชนแออัดที่ไม่มีโอกาสทางการศึกษา ด้อยโอกาสทางการศึกษา ไม่เหมือนคนอื่นหรือเหมือนกับพวกเรา เพราะฉะนั้นจึงต้องให้การศึกษาแก่เขาโดยการเรียนลัด คือศึกษาดูงาน นำไปศึกษาดูการทำเกษตรผสมผสาน ศึกษาดูงานการเลี้ยงไก่ นำไปศึกษาดูงาน นำไปดูการตีมีด ตีเหล็กที่บ้านอรัญญิก นำไปดู ๓ ประสานความคิดผู้นำทางบ้าน ผู้นำทางวัด ผู้นำทางโรงเรียน เราไม่มองข้ามความสำคัญของเขา เราขอเชิญเขามาคิดร่วมกันขอให้แสดงความเห็นด้วยกัน ต่อปัญหาที่พวกเราประสบกันอยู่ว่ามองเห็นไหม คิดอย่างไร หาทางออกอย่างไร แผนของรัฐบาลเป็นอย่างนี้ แผนของจังหวัดเป็นอย่างนี้ แผนของสภาตำบลเป็นอย่างนี้ เราจะเสนอแผนนั้นโดยนำมาเป็นแผนเฉพาะของเราอย่างไร ต้องมาผสานความคิดกัน
การประสานความคิดนี้เท่ากับเป็นการให้เกียรติแก่ผู้นำทางบ้าน ผู้นำทางวัด ทางโรงเรียน จะเกิดความรักความเข้าใจผูกพัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และจะช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ถ่ายเททรัพยากรบุคคล ถ่ายเททุนดำเนินการที่จะพัฒนา บ้าน วัด โรงเรียนออกไป ติดอุดมการณ์คือตั้งเป้าหมายเอาไว้ให้สูงว่า บ้านเราจะเอาแค่ไหน จากการศึกษาดูงานจากการประสานความคิดเสร็จแล้วเราพอจะกำหนดได้ว่า เราจะติดอุดมการณ์แค่ไหน ปีนี้เราจะทำส้วมให้ได้ ๑๐๐%  มันยังขาดอยู่เท่าไหร่ ยืมเงินผ้าป่า ยืมเงินกฐินจากวัดไปบริการประชาชนก่อนได้ไหม ใช้ก่อนไม่สูญเราจะเอามาชดใช้คืน แต่เอาไปบริการประชาชนก่อนเพี่อให้เห็นน้ำใจว่า พระสงฆ์เอื้อเฟื้อแก่ประชาชน นี่คือการติดอุดมการณ์ช่วยกันทำให้เสร็จ ปรับพื้นฐานความรู้ของประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาผสมผสานหรือเกณฑ์การพัฒนา จ.ป.ฐ. ความสำเร็จเป็นพื้นฐาน     ให้ได้ครบถ้วนทุกประการ ฟื้นฟูศาสนาและวัฒนธรรม




เข้าวัดทำไม? เพื่ออะไร? 
*******************

วันนี้เป็นวันพระ ที่ได้มารวมกัน ต่างคนก็ต่างมา มีกิจวัตรกันเป็นบางอย่าง ที่มาวัดนี้ บางคนมาเพราะเหตุ บางคนก็มีความสุขใจก็มาวัด บางคนก็มีความทุกข์ใจก็มาวัด


เป็นประเพณีของชาวคนไทยเรา ถึงแม้จะจนก็นึกถึงการทำบุญ ถึงแม้จะรวยก็นึกถึงการทำบุญ อะไรๆทุกอย่างก็ล้วนแต่การทำบุญทั้งนั้น อันนี้เป็นส่วนมากในส่วนจิตคนไทยเราทั้งหลาย ฉะนั้น วันนี้ยิ่งเป็นวันธรรมสวนะ เจ็ดวันครั้งหนึ่ง เจ็ดวันครั้งหนึ่ง เป็นโอกาสของอุบาสกอุบาสิกาผู้ชายผู้หญิง ผู้เข้าใกล้พุทธศาสนานั้น เป็นบัณฑิตที่สำคัญมาก ปกติแล้วก็คือพวกเราทั้งหลายนั้น เป็นผู้สังวรสำรวมรักษาศีลห้าประการ เกือบตลอดทุกคนที่เคยมาวัด เป็นปรกติศีล ปรกติกาย ปรกติวาจา อันนี้คือศีลเป็นพื้นเพตั้งแต่ต้นเดิมมาทีเดียว




ทีนี้ศีลแปดนี้ เป็นศีลพิเศษอันหนึ่ง ของพุทธบริษัททั้งหลายซึ่งเป็นฝ่ายอุบาสกอุบาสิกา เพราะว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถศีลที่จะเพิ่มข้อปฏิบัติขึ้นอีก ให้มันยิ่งขึ้นไปกว่าธรรมดา ธรรมดานั้นก็เรียกว่าเป็นปรกติเสมอมา วันนี้เป็นอุโบสถศีล เป็นวันที่สำคัญ เป็นวันที่พวกเราทั้งหลายสมาทานข้อวัตรให้สูงขึ้น คือวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รักษาอุโบสถศีลวันหนึ่งคืนหนึ่งเป็นต้น ก็ไม่ให้ทานข้าวเย็น ให้ทานข้าวแต่เช้าไปถึงเที่ยงก็พอแล้ว ข้าวเย็นไม่ต้องทานกันเหมือนวันธรรมดา แล้วก็เพิ่มข้อปฏิบัติขึ้นอีกหลายๆอย่าง เช่นไม่แต่งเนื้อแต่งตัวสดสวย หรือไม่นั่งนอนที่นุ่มที่นวล อันเป็นเหตุให้ใจของพวกเราทั้งหลายเพลิดเพลินไปในทางกามคุณยั่วยวน เป็นต้น หลายประการพร้อมเข้าเป็นศีลอุโบสถศีล


ฉะนั้น วันนี้ปราชญ์ท่านจึงกล่าวว่าเป็นวันอุโบสถศีล อุโบสถศีลนี้เป็นศีลที่พิเศษ เป็นศีลที่มีข้อวัตร เป็นศีลที่มีธุดงควัตร ละเอียดอ่อนขึ้นไป เป็นวันอุโบสถพร้อมด้วยการภาวนา เช่น เราไม่ทานข้าวเย็น ไม่ทานอาหารเย็น มันก็หมดภาระไป การปลิโพธกังวลของพวกเราทั้งหลายนั้นมันก็น้อยลงๆ ข้อวัตรปฏิบัติของพวกเรามันก็ดีขึ้น อันนี้เป็นศีล


แต่ว่าที่จะมีศีลยิ่งหย่อนนั้น ก็เพราะการประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าเป็นชื่อของอุโบสถศีลแล้ว มันจะเป็นศีลอันยิ่ง ไอ้สิ่งที่มันจะยิ่งนั้น ก็คือการเราปฏิบัติให้มันยิ่งขึ้น ให้มันดีขึ้น ให้มันประเสริฐขึ้น ไอ้ชื่อของศีลนั้น จะเป็นศีลห้าก็ตาม ศีลแปดก็ตาม ศีลอะไรๆก็ตามทั้งนั้นน่ะ อันนั้นมันเป็นชื่อของมัน ส่วนมันจะยิ่งหรือหย่อนนั้น มันอยู่ที่การพวกเราทั้งหลายปฏิบัติ ให้มันเคร่งครัดขึ้น ให้มันดีขึ้น จะเป็นศีลห้ามันก็ดี จะเป็นศีลแปดมันก็ดี จะเป็นอุโบสถศีลอะไรมันก็ดีทั้งนั้น มันอยู่ที่การปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าถึงวันอุโบสถ เราได้มาสมาทานอุโบสถแล้ว อาการกายวาจาของเราก็ปฏิบัติหย่อนอยู่อย่างเก่านั้น ก็จะเห็นว่าเราเป็นบุญอันยิ่ง เป็นบุญอันประเสริฐ แล้วก็เป็นศีลอันยิ่ง อันนั้นหาไม่ได้อย่างนั้น


ฉะนั้น สิ่งใดที่มันจะยิ่ง ก็คือทำให้มันดีขึ้น ให้มันสูงขึ้น ให้มันยิ่งขึ้น มิใช่ว่าทำให้เสมอตัว หรือทำจนมันหย่อนลงไป ให้มันดีขึ้นไปกว่าเก่า ลักษณะกาย ลักษณะวาจาของเรา ลักษณะจิตของเรานี้ ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ฉะนั้น จงพากันมีใจเข้มแข็ง เพราะว่าเจ็ดวันมีทีหนึ่ง


การทำให้ศีลของเราเศร้าหมอง การทำให้การเจริญภาวนาของเราไม่ราบรื่น ไม่สูงขึ้น ก็เพราะการปฏิบัติมีการคุยกัน การคุยกันการพูดกันเรื่องไม่เป็นสาระประโยชน์อะไร เช่นว่าทำกอ เราไปทำกันแล้วอยู่บ้านเราก็ทำกันแล้ว ขายกอตีกอผูกกอนั่น สารพัดอย่าง ก็ควรเอาไว้บ้าน มาถึงวัดแล้วก็ควรทิ้งมัน อย่ามาลอกกอในวัด อย่ามาขายกอในวัด อย่ามาผูกกอในวัด วันนี้ให้เลิกกิจการบ้านทั้งหลายนั้น เพราะเราได้มาทำงานเช่นนี้ การค้าขายทุกสิ่งทุกประการก็เหมือนกัน ไม่ควรเอามายุ่งในที่นี่ เพราะในที่นี่เราพยายามทำจิตใจให้เป็นอารมณ์อันเดียว สมาธิคือทำอารมณ์ให้เป็นอันเดียว คือทำจิตให้เป็นหนึ่ง ทำจิตให้เป็นอันเดียว ถ้าเรามาทำหลายอย่างมันยุ่งมันเหยิงไปหมด ไม่รู้จักว่าคนใหม่ ไม่รู้จักว่าคนเก่า คนเก่าก็ทำอย่างนี้ คนใหม่เข้ามาก็ไม่ได้อานิสงส์ เพราะคนเก่าพาทำอย่างนี้ก็ทำไปอย่างนี้ เลยปิดหูปิดตากันไปเรื่อยๆ ไม่รู้เรื่องกันว่าทำอะไรกัน


ฉะนั้น การกระทำของเราทั้งหลายเป็นหมัน เคยได้ทำมาไหม? เช่นสมัยก่อน พ่อแม่ปู่ย่าตายายของเราน่ะ ตามที่อาตมาดูมานะทำมา เข้ามาวัด มาภาวนาไม่รู้จักการภาวนา ไม่รู้จักไม่เห็น เช่นทุกวันนี้ก็เหมือนกัน ตามที่อาตมาสังเกตนี้ ไอ้คนที่เข้ามาวัดกับเพื่อนเฉยๆ ก็มาเฉยๆ ไอ้ตอนเช้าถวายจังหันพระนะ ควรน่ะจะมากราบพระ มาไหว้พระ มาสวดมนต์กับเพื่อนทั้งหลายนั้น ที่เราไม่เคยกระทำ ไม่เคยกราบ ไม่เคยนบ ไม่เคยไหว้ เราก็ควรพยายามนำลูกนำหลานเข้ามากราบเข้ามาไหว้น่ะมันก็ดีนะ บางคนเคยบ้างไหมนี่ ไม่เคยเข้ามาในศาลาโรงธรรมเลย เพราะว่ามาวัดนั่งอยู่ข้างนอกน่ะ นั่งคุยกันอันโน้นอันนี้กับลูกกับหลาน ไม่รู้เรื่อง อันนี้ไม่ใช่เป็นคนเข้าวัด เข้าวัดเหมือนไก่ ไก่มีลูกอ่อนมันเข้าวัด มันก็ฝึกเอาลูกเอาหลานมันเข้าวัดนะ มาเขี่ยกินขี้หมูขี้หมาตามนั้นแหละ มันไม่ได้มาหาอะไรหรอก อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น อันนี้คือเข้าวัดไม่ถูก เราไม่เคยกราบ ไม่เคยไหว้ ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟัง ก็เข้ามา ลูกหลานได้กราบได้ไหว้ ได้ยินได้ฟัง เพื่อฝึกหัดดัดสันดานของตนและลูกหลานพี่น้องทุกคน


เมื่อเข้ามาทำวัตรสวดมนต์ ก็เข้ามาเรียบ สวดไม่ได้ เราก็นั่งฟัง ให้จิตสงบเป็นสมาธิ ให้จิตเยือกเย็น สบาย ฝึกให้สงบอย่างนี้ มันก็ยังเป็นบุญ มันก็ยังเป็นกุศล มันเป็นเครื่องที่นำตนเข้าสู่ธรรมะ นำลูกนำหลานเข้าสู่ธรรมะได้ อันนี้เราเข้าอยู่ในวัด เข้ามาวัดไม่เห็นวัด เข้ามาวัดไม่เห็นพระ ปลามันอยู่ในน้ำมันไม่เห็นน้ำ ไส้เดือนมันอยู่ในดินมันก็กินขี้ดิน แต่ว่ามันไม่เห็นดิน เราทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น


เข้ามาวัดไม่รู้จักวัด เข้ามาวัดไม่ถึงวัด ฉะนั้น ปัญหาอันนี้มันจึงเกิดขึ้นแก่พวกเราทั้งหลายและลูกหลานตั้งแต่นั้น ไม่รู้เรื่องอะไร ไม่รู้เรื่อง อันนี้เห็นว่าเข้ามาวัดมันเป็นบุญ เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ทั้งหลายจะเข้ามาวัด เห็นพ่อแม่เข้ามาวัดก็เข้ากันมาตามๆ กันมาเรื่อยๆๆ ผลที่สุดอายุสี่สิบปีห้าสิบปีนะ เมื่อพูดถึงธรรมะธัมโม พูดถึงข้อวัตรปฏิบัติ พูดถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้อะไรเลย อันนี้เรียกว่าปลามันอยู่ในน้ำ มันก็แช่อยู่ในน้ำ ตามันก็เกลือกกลั้วอยู่กับน้ำแต่ว่ามันไม่เห็นน้ำ ไส้เดือนมันอยู่ในดิน มันก็กินขี้ดินเป็นอาหารของมัน แต่ว่ามันก็ไม่เห็นขี้ดิน มันเห็นขี้ดินเป็นอย่างอื่น มันเห็นน้ำเป็นอย่างอื่น เช่นนั้น บุคคลที่เข้ามาวัด ไม่เห็นวัด ก็เหมือนกันกับปลาที่ไม่เห็นน้ำ เหมือนไส้เดือนที่ไม่เห็นขี้ดิน ไม่รู้จักขี้ดิน มิฉะนั้น เราอย่าว่าเลยถึงการฟังธรรม แต่ขนาดนั้นเราก็ยังไม่รู้เรื่องอะไร


ที่นี้ข้ออรรถข้อธรรมนั้นเรียกว่าธรรมะ ธรรมะไม่รู้เรื่องว่าอะไรคือธรรมะ เมื่อโตขึ้นมาใหญ่ขึ้นมาก็นำลูกหลานเข้าไปสู่ที่พึ่งพิงอาศัย ไม่รู้จักธรรมะ ไม่รู้จักพระพุทธ ไม่รู้จักพระธรรม ไม่รู้จักพระสงฆ์ ก็พาลูกพาหลานเข้าไปกราบจอมปลวก จอมปลวกอยู่ตามป่า เอ้อเห็นว่าที่นี่มันไม่เหมือนเพื่อนเขานี่ ดินมันยาวขึ้นมามันพ้นขึ้นมา เห็นจะเป็นของศักดิ์สิทธิ์ล่ะมั้งนี่กราบเสีย พอกราบแล้ว ก็บ่นอะไรต่ออะไร อยากจะได้โชคลาภอะไร ก็ว่ากับไอ้ขี้ปลวกนั่นแหละ ไอ้ความเป็นจริงมันบ้านของปลวกขี้ปลวก นับถือเช่นนั้นขึ้นมา


บางแห่งก็โดยมากพวกจีนเขา ไอ้ปลวกมันขึ้นอยู่ใต้ถุนบ้าน มันเป็นจอมปลวกขึ้นมาสูงๆ ดีใจ รีบหาจีวรพระไปคลุมให้นะ ปลวกมันก็ยิ่งกินเข้าไป หาดอกไม้ไปบูชาเข้า ปลวกมันก็ยิ่งทำบ้านมันขึ้น หาจีวรพระไปคลุมให้ ปลวกมันก็ยิ่งดี มันขึ้นใหญ่ขึ้นทุกวันๆ ผลที่สุดตัวเจ้าของเองจะไม่มีที่อยู่บ้าน มีแต่ของศักดิ์สิทธิ์อยู่ในบ้านหมดทีเดียว เจ้าของไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหนกัน ก็ไปกราบไปไหว้อยู่อย่างนั้นแล้ว อันนี้แหละเรียกว่าหลง หลงที่สุดแล้วนี่ หลงจนที่สุดซะแล้วน่ะ


อันนี้แหละ หาเหตุผลได้ยาก ไม่มีเหตุผล เพราะเราไม่รู้เรื่องว่าอะไรมันเป็นอะไร? อะไรเป็นอะไรมันเกิดมาจากอะไร? ก็เหมือนกับคนที่เราไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ แล้วก็ไม่รู้จักเหตุของทุกข์ ไม่รู้จักเหตุของทุกข์ ไม่รู้จักความดับทุกข์ ไม่รู้จักความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงความดับทุกข์ท่านก็ไม่รู้จัก ก็เลยเป็นคนหลง ไอ้พวกนี่เป็นพวกคนหลงอยู่ ไม่ใช่ว่าคนอยู่ข้างนอกน่ะ ไม่ใช่ว่าคนเข้าวัดคนไม่หลงน่ะ คนเข้าวัดยิ่งหลงมากก็มี ยิ่งมากยิ่งไม่รู้เรื่องอะไรต่ออะไร อาตมาเคยไปพบอุบาสกตามป่าเขา เขาเข้าวัดทุกวันๆ ตามวันพระ สวดพุทธคุณธรรมคุณสังฆคุณก็พอสมควรแล้ว เขาลุกหนีต่อหน้าเลย เขาว่าผมไม่เข้าใจอย่างนั้น สวดมากมันก็ได้มาก สวดน้อยมันก็ได้น้อย นี้เขาพูดถึงการสวด ไม่พูดถึงการปฏิบัติ


เมื่อพูดถึงการสวดเช่นนี้ ฉะนั้น นักศึกษาที่ลูกศิษย์พระฝรั่งที่มาจากเมืองนอกครั้งแรก มาเห็นอาตมาสวดมนต์ เขาก็มาวิพากษ์วิจารณ์กันไปหลายๆ อย่างเขาเข้าใจว่าไม่เกิดประโยชน์อะไร สวดมนต์เช่นนี้ก็เหมือนร้องเพลงเท่านั้นแหละ ไม่เห็นจะมีอะไร จริง อาตมาว่าจริงของเขาเหมือนกัน ถ้าสวดไม่มีความหมายก็เหมือนร้องเพลงเล่นไปเช่นนั้นแหละ แต่เมื่อมาย้ำถึงข้อประพฤติมาย้ำถึงข้อปฏิบัติเข้าไปแน่นอนเสียแล้วจริงๆแล้วเนี่ย เขาก็ดีใจเขาก็เห็นด้วย สวดที่มีความหมาย สวดเพราะการประพฤติ สวดเพราะการปฏิบัติ สวดเพราะการชี้แจงทางผิดทางถูกให้ผู้สวดนั้นเข้าใจ ยิ่งเป็นเครื่องประกอบต่อการปฏิบัติ สวดในการประพฤติในการปฏิบัติ อันนี้เป็นต้น


ฉะนั้น การภาวนานั้นไม่ใช่การอย่างอื่น เรื่องภาวนาแท้ๆ น่ะ เราทั้งหลายก็นึกว่านั่งหลับตาภาวนา อย่างนี้ ถ้าไม่ได้นั่งก็ไม่ได้ภาวนา บางคนไปบ่นถึงอาตมาว่า อีฉันนั่งไม่ได้ ภาวนาไม่ได้ นั่งไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น นี่เพราะความเห็นของเขาว่า การภาวนาก็คือการมานั่ง นั่งให้นานที่สุด นั่งให้ดีที่สุด มีการนั่งเป็นพื้น เรียกว่าการภาวนา เป็นต้น ไอ้ความเป็นจริงอันนี้มันก็เข้าใจผิดไปเสียครึ่งหนึ่ง เข้าใจถูกไปเสียสักครึ่งหนึ่ง


การภาวนา นี้มีความหมายว่า ภาวนาคือการกระทำให้เกิดขึ้น ทำให้มีขึ้น ทานไม่มี ภาวนาพิจารณาถึงการให้ ให้มันมีการให้ ให้มันมีความเชื่อในการให้ การให้มันมีบุญอย่างไร? ท่านจึงจัดเป็นทานบารมี การให้นี่มีบุญ บุญคืออะไร? บุญก็คือความดีนั่นเองแหละ บุญนั้น เช่นว่า เราเดินไปตามทางหิวๆ ซิ มีใครเอาข้าวห่อให้สักห่อหนึ่งสิ จิตใจเราจะเป็นอย่างไร? ใจเรามันก็ดีขึ้น ใจเรามันก็สบายขึ้น นั่นแหละบุญแล้วนั่นแหละ นั่นบุญคือความดีนั่นแหละ บุญคือความถูกต้องนั่นแหละ นี้ให้เข้าใจว่าเป็นทานบารมี การให้นี้ท่านเรียกว่าเป็นบุญอันหนึ่ง ให้นึกถึงเมื่อเป็นอนุสติถึงทานบารมี คือคุณธรรมอันยวดยิ่ง


พระพุทธเจ้าทุกองค์ ทุกท่าน ทุกศาสนา จะต้องมีการให้เป็นเบื้องแรก เป็นคนใจบุญอ่อนน้อม บุญมันเกิดขึ้นกับคนทั้งสองคน คนรับก็สบาย ได้อาหารการอยู่การกิน ได้ผ้านุ่งห่มไปรักษาไปใช้มันก็ดีอยู่ ที่นั่งที่นอนไป ไอ้คนที่ให้นี่ก็สบายใจ ไม่เหมือนกับขโมยเอาของคนอื่นมา จะให้ข้าวไปสักห่อหนึ่ง จะให้กางเกงไปสักตัวหนึ่ง จะให้อะไรไปสักชิ้นหนึ่ง เป็นต้น ก็ดีใจ ดีใจเพราะของของเรานี้ เราได้ให้เขาไปด้วยดี ไม่ได้ซื้อไม่ได้ขาย ให้ไปแล้วเราก็สบายใจ นึกไปแล้วเขาที่รับ เขาก็จะเป็นคนสบาย เราคนที่ให้ของเราไป เราก็สบาย ความสบายทั้งสองอย่างนี้ แต่ก่อนยังไม่มี ถ้าเรามาทำขึ้น เรียกว่าการภาวนา มันก็เกิดขึ้น ความสบายมันก็เกิดขึ้น ความสบายนั้นมันก็มีขึ้น ทั้งสองคนนี้นั่นท่านเรียกว่าการกระทำบุญ


นี้เรียกว่าภาวนา นี้ก็มันถูกอย่างนี้ บุญมันเกิดขึ้นมันเกิดขึ้นมาเพราะเหตุผลอย่างนี้ ท่านจึงเรียกว่าเป็นบุญ นี้เรียกว่าการพิจารณา การภาวนา การพิจาณาอย่างนี้ ให้มันมีความถูกต้องอย่างนี้ ท่านจึงเรียกว่าบุญ ไม่ใช่ว่าบุญที่เราทำสนุกสนานกันแล้วมันเป็นบุญ อย่างบุญกันทุกวันนี้ บุญฆ่ากัน บุญแกงกัน บุญแทงกัน บุญยิงกัน บุญทุบตีกัน บุญอะไรต่ออะไรกันวุ่นวาย ที่ไหนมันจะถูกต้อง? ที่ไหนมันจะเป็นบุญ? อะไรไม่ดี มันจะดีเกิดขึ้นได้อย่างไร? อะไรไม่ถูก มันจะเกิดความถูกต้องขึ้นอย่างไร? อันนี้เรียกว่ามันไม่เป็นบุญ แต่การกระทำของคนทุกวันนี้การทำเช่นนี้เรียกว่าการกระทำบุญ แต่ว่ามันไม่เป็นบุญ มันไม่มีความหมายในการกระทำบุญ ทำบุญทุกวันนี้มันถึงเป็นอย่างนั้น


ฉะนั้น ท่านจึงบอกว่าให้ภาวนา จะทำทาน จะทำกุศล จะทำอะไรต่างๆก็ดี ให้เราทั้งหลายภาวนา ก็คือให้เราทั้งหลายพิจารณานั่นเอง เรียกว่าการภาวนา การภาวนานั้น ฉะนั้น จึงมิใช่ว่าการนั่งอย่างเดียว การยืนมันก็เป็นการภาวนาได้ การเดินก็เป็นภาวนาได้ การนั่งก็ภาวนาก็ได้ การนอนก็ภาวนาก็ได้ ทุกอิริยาบถการยืนก็ดี การเดินก็ดี การนั่งก็ดี การนอนก็ดี เราจะพยายามทำความคิดเราให้ถูกต้องได้ทุกอิริยาบถนี้


ฉะนั้น การภาวนานั้น มิใช่ว่าการนั่งหลับตาอย่างเดียว การลืมตาก็ภาวนา การหลับตาก็ภาวนา การนั่งก็ภาวนา การยืนก็ภาวนา การนอนก็ภาวนา ภาวนาคือสร้างความคิดของเราให้มันถูกต้อง ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนคนอื่น ทำต้องเกิดประโยชน์ การกระทำที่ถูกต้อง การพูดที่ถูกต้อง การคิดอะไรๆ ที่มันถูกต้อง ความถูกต้องทั้งหมดนั่นแหละ คือบุญแล้ว นั้นเรียกว่ามันเป็นบุญ บุญนี้เกิดจากการภาวนา ทานก็ดี ศีลก็ดี จะต้องภาวนา สารพัดทุกอย่าง


มนุษย์เราทั้งหลายหากินในโลกทุกวันนี้ ถ้าขาดการพิจารณาแล้วเป็นต้น ไม่ได้ เสียหาย จะซื้อจะขายจะแลกจะเปลี่ยน จะทำอะไรทุกประการก็ต้องภาวนา ก็ต้องพิจารณา เราได้มาเท่านี้ เราใช้ไปเท่านี้ เราทำอย่างนี้ ต่อไปเราทำอย่างนั้น เราจะมีโครงการเรียกว่าการภาวนาทั้งนั้น ถ้าใครภาวนาถูกก็สบาย ภาวนาถูกมันก็สงบมันก็สบาย เรียกว่าการภาวนา ฉะนั้น การภาวนาทุกคน ถึงแม้จะอยู่ในบ้าน หรืออยู่นอกวัด หรืออยู่ในวัด หรืออยู่ที่ไหนๆ ก็ตามเถอะ ถ้าเรามีความเห็นอันถูกต้อง มีความคิดอันถูกต้องในการพิจารณานะ มันก็เป็นการภาวนา


ถ้าหากว่าเราสงสัยไม่รู้เรื่อง เราก็เข้ามาวัด อย่างวันนี้มาฟังธรรม ฟังธรรมกับครูบาอาจารย์ อย่างน้อยวันนี้ก็คงรู้จักการภาวนา เพราะคงรู้จักตามเหตุหรือผลว่าการให้มันเป็นอย่างไร? มันเป็นประโยชน์อย่างไร? การภาวนาทำอย่างไร? การปฏิบัติทำอย่างไร? อย่างน้อยมันก็รู้จักกราบมันรู้จักไหว้ พระพุทธอยู่ที่ไหน? พระธรรมอยู่ที่ไหน? พระสงฆ์อยู่ที่ไหน? เมื่อเราภาวนาที่ให้มันถูกต้องแล้วก็คือเรานึกถึงพระพุทธ นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระสงฆ์


ฉะนั้น เมื่อเรารู้จักแล้ว เราก็ยึดเอาหลักของพระพุทธเจ้า ของพระธรรมเจ้า ของพระสังฆเจ้า เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกของเราทั้งหลาย ถ้ามิเช่นนั้น พวกเราทั้งหลายจะไม่เป็นมนุษย์สมบูรณ์ เป็นมนุษย์ที่พลาดๆผิดๆ เป็นมนุษย์ที่ป้ำๆเป๋อๆ ไม่สม่ำเสมอโดยสมบูรณ์ที่เป็นมนุษย์ เช่น ไม่รู้จักว่าพระพุทธเจ้าของเราให้นับถือพระพุทธหนึ่ง พระธรรมหนึ่ง พระสงฆ์หนึ่ง เป็นสรณะที่พึ่งของมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อเราที่ไม่ได้พิจารณา ไม่รู้ บางทีก็ไปพบอย่างอาตมาว่ามาน่ะ ที่เป็นจอมปลวกก็ไปไหว้ ต้นไม้ใหญ่ๆ ก็ไปไหว้ ที่ไหนห้วยเหวที่น้ำมันเซาะมันลึกที่น่ากลัวก็เข้าไปไหว้ อะไรที่ไหนๆไหว้ทั้งนั้น นึกว่ามันแปลกใจ ไอ้พวกเราทั้งหลายนี่มันกลัวเพราะความไม่รู้เรื่องของมัน


อันนี้ อาตมาได้ยินเสียงท่านเจ้าคุณพุทธทาส ท่านเทศน์ให้ฟังทางอากาศ ท่านว่าสมัยก่อนนั้นท่านเป็นเด็ก ท่านกลัวผีเหลือเกิน ตอนเช้าก็นำควายออกไปเลี้ยง ตอนเย็นก็กลับมา ที่กลับมาน่ะมันผ่านป่าช้ามานะ ไอ้ท่านอาจารย์เจ้าคุณพุทธทาสท่านก็กลัว แต่ก็ขึ้นอยู่บนหลังควายนั่นแหละ ควายก็กินหญ้ามันก็เฉย เจ้าคุณพุทธทาสก็กลัวอยู่บนหลังควายแหละ ท่านก็คิดไปคิดมา เอ๊อไอ้ควายนี่มันดีกว่าเราละมั้ง มันไม่กลัวผีนี่ มันกินหญ้าสบายๆอยู่ เราอยู่บนหลังควายที่ไม่รู้เรื่อง นึกว่าเราเป็นมนุษย์ขึ้นบนหลังควายก็ได้ เรายิ่งกลัวผีกลัวโน้นกลัวนี้ มีความหวาดมีความสะดุ้งอยู่ตลอดเวลา ท่านก็คิดไปคิดมา คิดไปคิดมา ไอ้ความกลัวนี้เพราะว่ามันเกิดจากความคิด ว่าตรงนี้มันจะเป็นอย่างนั้น ตรงนั้นมันจะเป็นอย่างนี้


ถ้ามาพูดถึงเรื่องควายแล้วขอโทษ ไอ้ควายนี้มันดีกว่าเราเว้ย! มันกินหญ้าสบาย มันไม่มีอะไรจะเป็นอะไรมันกินหญ้าสบาย แต่เราเป็นมนุษย์ขึ้นอยู่บนหลังควายกลัวตัวสั่น เอ้อ! อันนี้เราจะเป็นมนุษย์ได้อย่างไรนี่? มันจะดีกว่าควายอย่างไรนี่? มันโง่กว่าควายนี่ คิดไปคิดมาแล้วก็ละอายตัวเอง ละอายควาย ท่านคิดไปอย่างนี้ คิดไปคิดมา เปรียบเทียบเข้าไป คิดมาคิดไป เอ้อ เราขึ้นบนหลังควายก็ได้ หักไม้แส้มาเฆี่ยนควายก็ได้ อะไรก็ได้ แต่มันกลัวผี แต่ควายน่ะมันเฉยมันสบาย มันไม่มีผีนี่ อันนี้มนุษย์เราดีอย่างไรนี่ไม่รู้เรื่อง ท่านก็เห็นว่าผีมันเกิดที่ไหน? ผีมันเกิดอยู่ที่ความมืด เกิดอยู่ที่ความกลัว เท่านั้นแหละ แต่บัดนั้นมาท่านก็มีความคิด เออ มันเป็นอย่างนี้เอง นี้คือท่านพิจารณา พอเห็นเช่นนั้นท่านก็นึกได้ทีเดียว เอาเป็นรูปเปรียบเลย เอามาภาวนาเลย อันนั้นคือคนที่มีปัญญา


คนที่มีปัญญามันก็เห็นง่าย เช่นว่า คนเนี่ยมันทุกข์ มันทุกข์ท่านให้เข้าวัด บางคนก็เข้าใจว่า ถ้าอีฉันสบายร่ำรวยแล้วถึงจะเข้าวัด เป็นสุขๆแล้วก็จะเข้าวัด หมดภาระหมดหนี้หมดสินแล้วก็จะเข้าวัด ไอ้คนตายเอาเข้าวัดเอาไปเผาเท่านั้นแหละ พระพุทธเจ้าท่านหมดกิเลสท่านจึงมาเข้าวัดรึ? ท่านหมดห่วงหรือท่านเป็นอย่างไร?


อาตมาว่า โยมถ้าไม่มีห่วงแล้ว จะมาวัดทำไม? ถ้าไม่มีทุกข์ นี่จะเข้ามาวัดทำไม? หมดภาระแล้ว จะเข้ามาวัดทำไม? ไม่มีปัญหา จะเข้ามาวัดทำไม? ไม่ต้องเข้ามาหรอก ไอ้ตู้ที่ใบเขาโชว์อยู่ที่ตลาดวารินฯน่ะ ตลาดเมืองอุบลฯนั่น เขาทำเสร็จแล้ว เขาทาชะแล็ก เขาโชว์ไว้ขายนั่นน่ะ เขาจะเอาขวานไปผ่าอีกไหม? เอากบไปไสอีกไหม? เอาเลื่อยไปตัดมันอีกไหม? ก็ไม่มีจะเอาขวานไปผ่าเอามีดไปตัดเอาเลื่อยไปตัดเพราะตู้นั้นมันเสร็จแล้ว ไม่มีที่ทำแล้วก็โชว์ไว้เฉยๆ เท่านั้นแหละ


อันนั้นก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าโยมไม่มีหนี้มีสิน ถ้าโยมไม่มีความไม่มีอะไรที่จะพัวพัน ไม่มีความยุ่งยาก มีความสุขสบายทุกประการแล้ว โยมจะมาเข้าวัดทำไม? เข้ามาเพื่ออะไร? โยมก็ไม่ต้องเข้ามาเท่านั้นแหละ มาทำไม? ไม่มีเรื่องที่จะทำ เหมือนบุคคลที่ทานอาหารอิ่มแล้ว จะกลับเข้ามาทานอีกทำไม? งานนี้เขาทำเสร็จแล้ว จะมาทำอีกทำไม? ที่นี่มันสะอาดแล้ว จะมาทำให้มันสะอาดอีกยังไงได้? โยมไม่คิดอย่างนั้นนี่ โยมก็คิดว่าฉันไม่มีภาระ ฉันไม่มีธุระ ฉันไม่มีปัญหา ฉันจะเข้ามาบวชในวัด


เมื่อไรเรามีปัญหาเราต้องรีบแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ พรุ่งนี้มีปัญหาก็ต้องพยายามแก้ปัญหา มะรืนนี้มีปัญหาก็พยายามแก้ปัญหาเรื่อยๆไป เพราะว่าอาตมาเคยสังเกต โดยมาก ถ้าคนรวย คนสบายแล้ว ก็วางใจ เช่น เคยเข้าไปบิณฑบาตในที่หนึ่ง ไม่รู้จักบาตร แต่มาพบอาตมาก็พอดีทำบุญบ้าน เลื่อมใสมากก็เข้ามา เขาเอาจานข้าวใส่ตักบาตร จับผลไม้ขึ้น ใส่ลงตรงนี้หรือ?


อาตมาก็นั่งดู โอ้โห! มันสำคัญเหลือเกินนะ ขนาดนายพลนะนี่น่ะ ไม่เคยรู้จักตักบาตร แล้วก็โยมเรานี่แหละ โยมเข้าวัดธรรมดานี่ จ้ะใส่ไปตรงนั้นล่ะ ไอ้ตรงนั้นใส่ตรงนั้น ตรงนั้นใส่ตรงนั้นไปเรื่อยๆ เหมือนกับคนตาบอดเลย อาตมาก็มานั่งพิจารณาว่า เออ อันนี้มันติดอะไรบ้างนะ อันนั้นมันมีอะไรนะ ดูไว้ ยศมันขวางอยู่ รวยมันขวางอยู่ ความสุขมันขวางอยู่ ไอ้ความเพลินมันขวางอยู่ อะไรมันขวาง มันติดอยู่ทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่ว่าไอ้ความจนมันขวาง


ทุกคน จะรวยจะจนอะไรก็ช่างมันเถอะ ถ้าคนมีปัญญาแล้วน่ะ ไม่เคยเห็นว่าวันนี้กับเมื่อวานนี้นะ มันเหมือนกันหรือเปล่า? เราเกิดมานี่ วันนี้กับเมื่อวานนี้ มันคนเดียวกันหรือเปล่า? หรือมันคนละคนไหม? อีกวันนี้จะถึงพรุ่งนี้อีกแล้ว มันจะเป็นคนคนเดียวกันหรือเปล่า? ไม่คิด มันไม่เปลี่ยนเช่นนี้ จะเป็นนายพลจะเป็นนายพันจะเป็นคนร่ำคนรวยจะเป็นอะไรก็ช่างเถอะ มันก็ต้องเปลี่ยนๆๆๆๆไปอย่างนี้ มันไม่ได้เว้นหรอก ชีวิตสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกันอย่างนั้น มันจะแก่ มันจะเจ็บ มันจะตายเรื่อยไปเท่านั้นแหละ


พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่าอย่าประมาทเลย อย่าถึงประมาท อย่าประมาท มียศอย่าลืมยศ มีลาภอย่าหลงในลาภ มีสรรเสริญอย่าหลงในสรรเสริญ มันจะมีอะไรก็ให้มันมีเถอะในโลกนี้แต่อย่าเมามัน นะ อย่าเมา ท่านไม่ให้เมา มันจะรวยก็ให้มันรวยถ้ามันจะรวยได้ มันจะจน เอาไว้ไม่ได้มันจะจนก็ให้มันจนไป อย่าไปเมามัน มีจนก็อย่าเมาจน มีรวยก็อย่าเมารวย วันมีทุกข์ก็อย่าเมาทุกข์ วันมีสุขก็อย่าเมาสุข วันมีหนุ่มก็อย่าเมาหนุ่ม วันมีแก่ก็อย่าเมาแก่ อย่าไปเมามันเลย เรื่องทั้งหลายเหล่านี้มันเปลี่ยนๆๆ ไปอยู่อย่างเนี้ย ไม่ว่าใครต่อใครมันเป็นอยู่อย่างนี้


ฉะนั้น ธรรมะอันนี้ท่านตรัสให้ตรงไปตรงมา เมื่อเรามาพิจารณาสิ่งทั้งหลายเหล่าเนี้ย ไอ้ความยึดมั่นและถือมั่นที่มันเป็นปัญหาอยู่นั่นแหละ มันจะปล่อยคลี่คลายออกคลี่คลายลงไป เราจะได้เห็นว่าคนธรรมดานี่ ทุกคนธรรมดา ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมา ท่านไม่ให้ถือเนื้อไม่ให้ถือตัวมันเหมือนกันทุกคน อย่างส่วนรวมที่น้อยอยู่ในศาลานี่ ตั้งแต่ตัวอาตมาลงไปหาญาติโยมอย่างนี้มันอันเดียวกัน มันไม่ใช่คนละอย่าง มันคือคนคนเดียวกัน มันเหมือนกัน เหมือนกันอย่างไร? มันเกิดขึ้นมาก็เหมือนกัน เกิดขึ้นมาแล้วมันก็แปรไป ไอ้ความแปรไปเปลี่ยนไปมันก็เหมือนกัน ผลที่สุดมันก็ดับไปมันก็เหมือนกัน ที่ไหนมันเหลืออะไรไหม? มีอะไรเหลือไหม? ไอ้ความโง่มันเหลือไหม? ไอ้ความฉลาดมันเหลือไหม? มันเหลืออะไรบ้างในไหมโลกเนี้ย?


ทำไมที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อันนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรานะ อันนั้นก็ไม่ใช่ของเรานะ บางทีโกรธด้วยน่ะ ไอ้คนที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัวเนี่ย มีความร่ำมีความรวยมีความอะไรต่ออะไร โกรธเสียด้วยน่ะ “อื๊อ เทศน์อย่างนี้ไม่น่าฟังหรอก” แหนะ! นอกนั้นไปก็เทศน์ว่า พิจารณานะโยมนะ คนนี่เกิดมา ตายนะ ไม่แน่นะ ตาย คนยิ่งลุกไปใหญ่เลย “ฉันนี่ฟังไม่ได้หรอก เอาคำอัปรีย์จัญไรมาพูดกันเสียแล้ว” ไอ้มันเกิด มันตาย ยังสิว่ามันอะไร ยิ่งกลัวมันยิ่งจะไม่อยากจะได้ฟังมันเลย นี่เรามาพูดเสียนี่ ไปกันเสียอย่างนี้ คือคนมันไกลธรรม มันจะไม่แก่ มันแก่ไปเท่าไรมันก็ยิ่งไกลหนุ่มไปเท่านั้นแหละ ไม่ใช่ว่ามันหนุ่มหรอก มันไกลจากความหนุ่มไป แต่มันใกล้ความตายเรื่อยไปอีกแหละ ไม่ใช่มันว่าไปที่ไหน ไอ้ตัวเราก็เหมือนกันทุกๆคนนั่นแหละ


ถ้าเรามาคิดถึงธรรมะของพระพุทธเจ้าของเราแล้วน่ะ เราจะคลี่คลายความกังวล ความยึดมั่นถือมั่นออกไปได้ อย่างคนในวัดนี้ในศาลานี้ ถ้าเห็นฉันน่ะดีกว่าเธอ เธอน่ะโง่กว่าฉัน ฉันฉลาดกว่าเธอ เธอไม่เหมือนฉัน อะไรต่ออะไรเนี้ย มันก็ลุ่มๆดอนๆ จะพูดอะไรก็คอยเพ่งกัน จะพูดอะไรก็มองกัน จะหยิบอะไรก็มองกัน มองไปกันทั้งนั้นแหละ เพราะอะไร? เพราะมันอ้างฉลาดกัน มันอ้างโง่กัน อ้างความร่ำความรวยกัน อ้างความจนกัน อ้างความสุขกัน อ้างความทุกข์กัน เพราะความเห็นผิดของเรานี่เอง


ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงให้ภาวนา คนเรามันเหมือนกัน เป็นญาติคือความเกิด เป็นญาติคือความแก่ เป็นญาติคือความเจ็บ เป็นญาติคือความตาย สม่ำเสมอกันทั้งนั้น เมื่อคนเรามีจิตใจลงสู่ธรรมะเช่นนี้แล้ว มันจะไปที่ไหนล่ะ มันก็สม่ำเสมอเท่านั้นแหละ ในเวลานั้นพระเจ้าเมตไตรยเกิดแล้ว ธรรมของพระเจ้าเมตไตรยมีแล้ว ถ้าเราคิดถึงธรรมพระเจ้าเมตไตรย ท่านก็เกิดเดี๋ยวนี้แหละ ท่านก็โปรดเดี๋ยวนี้แหละ มีแล้ว แต่มนุษย์ทั้งหลายไม่คิดอย่างนั้น ไปยึดมั่นถือมั่นในบางสิ่งบางอย่าง ที่จะขนทุกข์ให้ตัวเจ้าของน่ะไม่รู้เรื่อง


ฉะนั้น เหตุผลในวันนี้ มาทำอุโบสถในวันนี้ มาฟังธรรมในวันนี้ มันยิ่งเกิดประโยชน์มากทีเดียว ไม่ต้องฟังมาก ไม่ต้องอะไรมาก เมื่อคนมีปัญญาฟังเท่านี้ก็พอแล้ว อะไรก็ไม่ใช่เรา อะไรก็ไม่ใช่ของเรา เราจะเอาอะไรมันไปทำไม? จะยึดมั่นถือมั่นมันไปถึงที่ไหน? แก่อายุพอสมควรแล้ว ก็ผ่อนพักๆไปเถอะ อย่าตะกุยตะกายไปจนถึงวันตาย ไม่รู้เรื่องอะไร


คนนี่อายุก้าวเข้าห้าสิบกว่าหกสิบแล้วมันหลงนะ โยมทุกคนจำไว้เถอะมันจะหลง อาตมาพอก้าวเข้าหกสิบมันจะจวนหลงแล้วเดี๋ยวนี่ มันจวนจะหลงแล้วล่ะ บางทีเรียกเณร ก. โดดไปพูดกับเณร ข. นู่น บางทีจะเรียกพระ ก. โดดไปใส่พระ ค. นู้น มันจะเป็นอะไรมันจะเป็นอาตมาแล้วล่ะ มันเกษียณแล้วน่ะ ในราชการข้างนอก หกสิบเอ็ดปีเขาเกษียณแล้ว แต่ในด้านธรรมะก็เกษียณเหมือนกัน แต่เกษียณเงียบๆ กระซิบเงียบๆ เกษียณแล้ว ดูนะ จริงๆ เอานี้ไว้ตรงโน้น เอาโน้นมาที่นี้ จะไปก็ว่ามา จะมาก็ว่าไป เอาไปเอามาไม่ทันทำไม่พิจารณา แก่มาก็เลยมีความฉลาดมาก ฉลาดในความโง่นั่นไง แล้วไปยุ่งอยู่กับบ้านกับช่อง ถกเถียงกับลูกกับหลานวุ่นวายกันอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่มีเรื่องอะไร ถือมั่นถือรั้นถือถังอยู่อย่างนั้นแหละ ไอ้ความยุ่งมันก็ยิ่งเกิดขึ้นมา มันเป็นเช่นนี้


อาตมาเคยเห็นหลายแห่ง เพราะเราเป็นพ่อแม่เขา มันเกิดก่อนเขา เลี้ยงเขามา มีความฉลาดมาก ความฉลาดมากเลี้ยงมันไว้มากๆ ไอ้ความฉลาดน่ะมันแก่แล้วมันโง่น่ะ ไม่ใช่ว่ามันฉลาดแต่ว่ามันโง่นะ ไอ้ความฉลาดนี่เลี้ยงไปนานๆมันโง่ เถียงเก่ง ไม่ยอมรับความผิด อะไรต่ออะไรวุ่นวายก็ถกเถียงกับลูกกับหลาน ลูกหลานก็มีปัญญาดี หัวเขากำลังใส เขาขี้เกียจพูดเขาก็หนีไป ไอ้ยายกะตานี่ก็ยิ่งชนะใหญ่เสียแล้ว เราเป็นพ่อเป็นแม่มันซะ เด็กๆจะพูดอะไรไม่ได้ ไอ้ความเป็นจริง ไอ้มันถูกความเขานี่ก็เถียงเขา เอาชนะเขานี้ อันนี้ไม่ใช่ธรรมะน่ะ ดูไว้นะเราหลงแล้วน่ะ


ให้รู้จักว่าสังขารนี้เกษียณแล้วนะ ตาเรามันเหมือนไหมล่ะ? หูเราเหมือนเก่าไหม? ร่างกายเหมือนเก่าไหม? กำลังมันเหมือนไหม? ไอ้ความจำมันเหมือนไหม? อะไรมันเหมือนไหม? ทำไมไม่ดูแล้วจะให้ใครมาเกษียณเราแล้ว พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่าอย่าประมาทน่ะ ปมาโท มัจจุโน ปทัง คนประมาทแล้วเหมือนคนตายน่ะ อย่าประมาท ฉะนั้น อาตมาเห็นว่า พักผ่อนให้มันลงไปบ้างก็ดี ไอ้ความฉลาดนี้ก็มันใช้ได้แต่ระบบประสาทมันยังดีน่ะ ถ้าระบบประสาทมันเสียหายก็ไม่ได้หรอก ยิ่งไปกันใหญ่น่ะนี่ มันเป็นเช่นนั้น


บางแห่ง จนเขาเรียกว่า มันไปไม่ไหวนี่ พ่อก็มีอำนาจ แม่มีอำนาจ มีอำนาจเถียงไม่ได้ ลูกชายลูกสาวลูกสะใภ้ลูกเขย เขามีปัญญา นะ เขาค่อยๆปะเหลาะ “แม่ ไปอยู่วัดเสียเถอะ” น่ะ “พ่อไปจำวัดเสียเถอะ” เขาล่อไปอยู่วัดเขาขี้เกียจฟังบ่นทุกวันๆ นะ จะไปปลูกกุฏิให้อยู่ในวัด เขาอุตส่าห์ส่งเสียให้สบายดีกว่า ดีกว่าจะมาบ่นจู้จี้จุกจิกอยู่นั่นแหละ ให้พระท่านสอนดี อย่างนั้นสองตายายก็ยังไม่รู้เรื่อง นะ ไม่รู้เรื่องว่าว่าเขาเอาเราไปทำไม เข้าใจว่าเขาเอาไปวัดไปวา ไปทำบุญทำทาน ก็ไปยุ่งกับเขา เขาก็เอาไปเท่านั้นแหละ เอาเข้าไปหาหลวงตาที่วัดนั่นแหละ อย่างนี้ก็มีน่ะ ให้ระวังดีๆ


แก่แล้วมันไม่รู้เรื่อง มันกลับเป็นเด็กอีกน่ะ ใครรู้ไหมแก่แล้ว แก่แล้วมันกลับเป็นเด็กเหมือนต้นมะม่วงนั่นแหละ เมื่อมันแก่มาแล้วมันก็สุก สุกแล้วมันก็หล่นลงมาที่ดิน ที่ดินเม็ดมันก็งอกเป็นต้นเล็กๆ เป็นต้นมะม่วงเล็กๆ ต้นใหม่ๆ เห็นไหมล่ะ? มันเป็นต้นใหม่อีกแล้ว ไอ้คนแก่ๆ เราก็เหมือนกันนั่นแหละ ถ้ามันแก่เต็มที่แปดสิบเก้าสิบปีแล้ว ก็คลานเล่นเท่านั้นแหละ นะ เยี่ยวก็ไม่รู้เรื่อง ขี้ก็ไม่รู้เรื่อง กินก็ไม่รู้เรื่อง เป็นเด็กอีกแล้ว เอ้อ ถ้าคนแก่เป็นเด็กมันลำบากกว่าเด็กๆ มันเป็นเด็กนะ เยี่ยวมันก็เหม็นกว่าเก่าน่ะ ขี้มันก็เหม็นกว่าเก่านะ อะไรมันเหม็นกว่าเก่าทั้งนั้นแหละ เด็กแก่นี่ คนแก่มันเป็นเด็ก ไม่ใช่เด็กๆ มันเป็นเด็กมันค่อยยังชั่วหน่อยนะ ใครก็อยากลูบใครก็อยากกอดใครก็อยากล้างมันน่ะ เขามีแต่อย่างนี้ ฉะนั้น เมื่อหากว่าเราภาวนาแล้วน่ะมันจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ มันแก้ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ได้ เป็นคนเลี้ยงง่าย เป็นคนว่าง่าย เป็นคนไม่ลืมตัว เป็นคนมีสติ เป็นคนมีสัมปชัญญะ ไม่สร้างกรรม ไม่สร้างเวร กับตนกับผู้อื่น กับลูกกับหลาน นี้จะมีความสุขกายสบายใจอย่างนี้ นี่เรียกว่าเราภาวนา


ไม่ใช่ว่าภาวนาแต่ว่าเรานั่งหลับตาภาวนา บางคนก็มาวัดทุกวันน่ะ วันพระมานั่งหลับตาภาวนา ใช่ไหม? กลับไปบ้านแล้วทิ้งหมด ทะเลาะกับลูก ทะเลาะกับผัว ทะเลาะกับใครต่อใครวุ่น เขาเข้าใจว่าเวลานั้นเขาออกจากการภาวนาแล้ว แล้วภาวนาก็มานั่งหลับตาเอาบุญ น่ะ พอออกไปแล้วบุญไม่ไปด้วย เอาแต่บาปไปเท่านั้นแหละ ไม่อดไม่กลั้น ไม่ประพฤติธรรมไม่ปฏิบัติธรรม อะไรต่ออะไรหลายๆอย่าง


ไอ้ความเป็นจริง การประพฤติการปฏิบัติการภาวนานี้น่ะ เมื่อไรก็ตามมันเถอะ จะอยู่นอกวัดก็ตาม อยู่ในวัดก็ตาม เหมือนกับว่าเราไปเรียนหนังสือในโรงเรียนที่ดีๆ เมื่อเราเรียนหนังสือในโรงเรียนที่ดีๆแล้ว เราเรียนหนังสืออ่านหนังสือได้ในโรงเรียน น่ะ เราจะไปอ่านอยู่ที่บ้านเราก็ได้ จะอ่านอยู่ที่ไหนก็ได้ จะอ่านในทุ่งก็ได้ จะอ่านอยู่ในป่าก็ได้ จะอ่านอยู่ในชุมชนก็ได้ อ่านอยู่คนเดียวก็ได้ จะมาอ่านอยู่โรงเรียนก็ได้ อ่านที่ไหนก็ได้ เนี่ย ถ้าเราเข้าใจดีแล้ว ไม่ใช่อ่านหนังสือจะวิ่งมาโรงเรียนถึงมาอ่านหนังสือได้ รับจดหมายแล้วจะวิ่งมาอ่านอยู่โรงเรียนถึงจะอ่านได้ไม่ใช่อย่างนั้น การภาวนานี้ก็เหมือนกันเช่นนั้น


เมื่อเรามีปัญญาแล้วจะไปในทุ่งก็ดี ไปในป่าก็ดี อยู่ในคนจำนวนมากก็ดี อยู่ในคนจำนวนน้อยก็ดี จะถูกนินทาก็ดี จะถูกสรรเสริญก็ดีเป็นต้น ก็มีความรอบรู้สม่ำเสมออยู่นั่นแหละ เรียกว่าคนที่ภาวนา ไม่ใช่อย่างนั้น ให้มันรู้เท่าอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น เช่นนี้ ก็เรียกว่าเรานั่นสบายแล้ว ต้านทานอารมณ์ได้ ปล่อยตาปล่อยหูปล่อยจมูกปล่อยลิ้นปล่อยกายปล่อยใจออกมาได้แล้ว นี้เรียกว่าคนภาวนาเป็น มีอารมณ์เป็นอันเดียว


อารมณ์อันเดียวคืออะไร? ไม่เอาเรื่องกับใคร เรียกว่าอารมณ์อันเดียว มันเปลี่ยนจากอารมณ์อันเดียวของสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานเอาเรามาเรียนภาวนาพุทโธๆๆๆ อันเดียว มันน้อยไป ถ้ามันพลาดจากพุทโธแล้วมันไปที่ไหนก็ได้ อารมณ์อันเดียวคืออารมณ์วิปัสสนานั่นแหละ ไม่มีชั่วไม่มีดี มีดีมีชั่วแต่จิตของเราอยู่เหนือชั่วเหนือดีทั้งนั้น ฉะนั้น เป็นอารมณ์อันเดียวอย่างนี้ ปล่อยมันทิ้งไป เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งสิ้น อย่างนี้ นี้การปล่อยวาง ทั้งหมดนั้นเรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้อง


จะยืนก็เป็นคนภาวนา จะเดินก็เป็นคนภาวนา จะนั่งก็เป็นคนภาวนา จะนอนก็เป็นภาวนาน่ะ เราจะรู้ไหมว่าเราจะตายเวลาไหน? มันจะตายเมื่อเรานั่งหลับตาหรือเปล่าก็ไม่รู้ ไอ้กิเลสมันจะเข้ามาแต่เรานั่งหลับตาหรือ? ใครเคยโกรธไหมเมื่อเดินอยู่เคยโกรธไหม? นอนๆอยู่เคยโกรธไหม? เมื่อเดินไปเคยโกรธไหม? หรือมันโกรธอยู่เมื่อเรานั่งหลับตามันเข้ามาน่ะ อย่างนั้นถ้ามันเป็นเช่นนี้เราจะไปอาศัยแต่เมื่อเรานั่งหลับตาแล้วจะภาวนาได้อย่างไร?


ภาวนาก็คือว่ารู้ทั่วถึง รู้รอบคอบนั่นเองแหละเป็นต้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นผู้มีสติความระลึกได้ เป็นผู้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว เป็นผู้มีปัญญาความรอบคอบในการยืนการเดินการนั่งการนอน สามารถจะมองเห็นความบกพร่องสมบูรณ์บริบูรณ์ด้านจิตใจตนอยู่ทุกเวลา นั่นเรียกว่าคนภาวนา เมื่อเรารู้อยู่เสมอเช่นนั้นก็ไม่มีอะไรจะมากระทบกระทั่งเรา มีอะไรคุ้มกันเรื่องจิตใจอยู่สบาย มีใจราบรื่นสม่ำเสมออยู่อย่างนั้นแหละ นั้นเรียกว่าจิตเป็นปรกติ อันนี้เป็นคำสอนในวันนี้ ให้ญาติโยมทั้งหลายนำไปพินิจ นำไปพิจารณา ไปภาวนาให้มันถูกต้องตามความหมาย ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราให้ดี


ใจกับกายของเรานี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด คนเราก็บ่นว่ากายมันยุ่งใจมันยุ่ง ใจไม่สบาย ความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น โยมเข้าใจผิด ใจไม่เป็นอะไร กิเลสมันเป็น “ใจฉันไม่สบาย” ไม่ถูก สิ่งที่สบายที่สุดคือใจ ไอ้ที่ๆไม่สบายไม่ใช่ใจ สี่งที่สกปรกไม่ใช่ใจ สิ่งที่มันยุ่งยากไม่ใช่ใจ มันกิเลสตัณหา ให้เราเข้าใจอย่างนี้ แบ่งมันออกเสีย โยมไปโทษแต่ใจกันทุกคนๆ ใจมันจะมีอะไร? ใจมันสบายอยู่แล้ว


เหมือนกันกับใบไม้ในป่านั่นแหนะ ธรรมดาใบไม้ปรกติมันอยู่นิ่งๆ ไม่มีอะไร ที่มันกวัดแกว่งไปมาเพราะอะไร? เพราะลมมันโกรกนี่ เข้าใจไหม? นี่ให้เข้าใจเสียอย่างนี้ เราจะไปให้โทษแต่ใจก็ไม่ใช่ ที่ใบไม้มันจะกวัดแกว่งไปมานั่นเพราะอะไร เพราะลมมันโกรกมัน ถ้าลมไม่โกรกมันใบไม้ก็นิ่งเป็นปกติ ใจเราก็เหมือนกัน เป็นของสงบอยู่แล้ว เป็นของสะอาดอยู่แล้ว ใจเดิมของเรามันเป็นอย่างนั้น ที่มันกวัดแกว่งไปมานี่ คือมันใจใหม่ ใจปลอม มันถูกตัณหาชักจูงไปมาตลอดเวลา เดี๋ยวก็มีสุขบ้าง เดี๋ยวก็มีทุกข์บ้าง เดี๋ยวก็อย่างโน้น เดี๋ยวก็อย่างนี้บ้าง ทำให้เราวุ่นวาย อันนี้ไม่ใช่ใจ จำไว้ ถ้ามันวุ่นขึ้นมาเมื่อไรก็ให้เข้าใจที่หลวงพ่อว่า อันนี้ไม่ใช่ใจ ถ้าใจไม่มีอะไร เป็นของบริสุทธิ์เป็นของสะอาดเป็นปรกติ อันนี้ใจปลอม ใจไม่ได้ฝึก อันนี้ให้เอาไปคิด เราจึงจะรู้จักสัดส่วนของการปฏิบัติ เราอย่าไปคุมแต่อย่างอื่น ไปคุมที่ใจของเรา ใจนี้มันไม่มีอะไร มันเป็นปรกติ


ถ้าเราปฏิบัตินั้น ก็ค้นหาเรื่องปรกติ คือใจเดิมของเรานั่นแหละ ถ้าเห็นจิตเดิมใจเดิมเราแล้ว เป็นต้น ไม่มีอะไรวุ่นวาย เหมือนใบไม้ในป่า ค้นไปถึงปรกติมันแล้ว เรียกว่าไม่มีอะไรจะตบแต่ง เพราะลมไม่ได้โกรกมัน นี้มันเป็นเพราะอารมณ์ไม่สบาย ไม่ใช่ใจมันทุกข์ ไม่ใช่ใจ กิเลสอย่างอื่น มันเปลี่ยนหน้าเข้ามาซะ โยมก็วิ่งตามมันอยู่นั่น บางคนก็น่าสงสาร จนคิดว่าไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติเพราะใจมันยุ่ง บางคนจะเข้าใจเสียอย่างนี้ ไม่ใช่ ใจเรามันไม่ยุ่ง ถ้าใจจริงๆ ไม่ยุ่ง ที่มันยุ่งก็เพราะกิเลสทั้งหลายเท่านั้น